พัฒนสาระ
นานาสาระเพื่อการพัฒนา
วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562
ข้อคิดเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา
ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งประเทศที่พัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา ได้ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพการศึกษามากขึ้น ทั้งนี้เพราะเชื่อว่า การศึกษาที่ดีกว่าและมีคุณภาพสำหรับทุกคนเท่านั้น ที่จะทำให้ความยากจนหมดไปและทำให้ประเทศพัฒนาต่อไปได้
ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา สถาบันการศึกษาเหล่านี้ ไม่อาจจัดการศึกษาในลักษณะที่มากขึ้นแต่เหมือนเดิม( more of the same) ได้อีกต่อไป แน่นอนว่าเมื่อสังคมให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพการศึกษามากชึ้น การวิจารณ์การศึกษาในแง่มุมต่างๆจึงเกิดขึ้นตามมา
มีผู้วิจารณ์ว่าการศึกษาสมัยนี้เสื่อมลงกว่าแต่ก่อน ซึ่งผู้วิจารณ์ประเภทนี้มักจะเป็นผู้ที่มองแต่เรื่องดีๆในอดีต ในช่วงที่ผู้วิจารณ์กำลังเรียนหนังสืออยู่ เช่น วิจารณ์ว่าสมัยก่อนหลักสูตรมีเนื้อหาที่เป็นแก่นสาร ครูทุ่มเทในการสอน ครูมีความสำนึกต่อหน้าที่ ครูเป็นผู้รักษาวินัย และเรียกร้องเรื่องมาตรฐาน นักเรียนเองก็เรียนอย่างจริงจัง ทำงานหนักและมีความรู้ที่แน่นกว่าเด็กสมัยนี้ คำวิจารณ์ลักษณะนี้ตั้งอยู่บนความคิดของคุณภาพที่หยุดนิ่งอยู่กับที่
เป็นความคิดที่ผูกติดอยู่กับมาตรฐาน ซึ่งผู้วิจารณ์ถือว่าเป็นความจริงอันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นความคิดที่ผู้วิจารณ์ยึดถือว่าเป็นเรื่องที่ดีงามและถูกต้องทุกสมัย ทุกสถานที่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและกฎเกณฑ์ที่ยึดถือมาตั้งแต่ดังเดิมจึงเป็นการกระทำไม่ถูกต้อง ความคิดลักษณะนี้เป็นความคิดที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยความเป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน สัมพันธ์ในแง่ของเวลา ผู้เรียน และสถาพแวดล้อม อะไรเป็นการศึกษาที่ดีมีคุณภาพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือไทย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แน่นอนว่าไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันหรือผู้เรียนในคริสต์ศตวรรษที่ 21
การตัดสินว่าระบบการศึกษาใดมีคุณภาพหรือไม่ จะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าเป็นการศึกษาเพื่ออะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไร จึงเป็นความผิดพลาดที่เปรียบเทียบเรื่องคุณภาพการศึกษา ระหว่างระบบการศึกษาของประเทศที่แตกต่างกัน หรือแม้ประเทศเดียวกัน แต่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ก็ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้
นอกจากนั้น มักจะเข้าใจผิดว่าการจัดการศึกษามากๆจะเป็นการศึกษาที่แย่ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เพราะการศึกษาเพื่อมวลชนย่อมจัดการได้ยากกว่าการจัดการศึกษาเพื่อชนชั้นสูง แต่ไม่ได้หมายความว่า การศึกษาเพื่อมวลชนจะทำให้มีคุณภาพไม่ได้
การประเมินการปฏิบัติงานของโรงเรียนเช่นกัน มักจะมีแนวโน้มที่จะประเมินปัจจัยภายในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ราวกับว่าโรงเรียนอยู่ในสูญญากาศทางสังคม จริงอยู่ปัจจัยภายในโรงเรียนมีความสำคัญมาก แต่ปัจจัยภายนอกก็มีความสำคัญต่คุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษาเช่นกัน
ปกติปัญหาคุณภาพการศึกษาเกิดจากเหตุเบื้องต้น 2 ประการ คือ
1. เกิดจากความแข็งตัวของระบบการศึกษา ที่ไม่ปล่อยให้หลักสูตรและเนื้อหาวิชาได้ก้าวหน้า ในขณะที่โลกแห่งความรู้และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไปในอัตราที่รวดเร็ว
2. เกิดจากการที่ประเทศกำลังพัฒนานำรูปแบบการศึกษามาจากประเทศพัฒนา ซึ่งไม่เหมาะกับความต้องการ สภาพแวดล้อม และทรัพยากรของประเทศอย่างอย่างแท้จริง
เหล่านี้เป็นสาเหตุเบื้องต้น ที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา
นั่นคือ การจะจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า เป็นการศึกษาเพื่ออะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไร ไม่ใช่คิดแต่จะลอกเลียนระบบการศึกษาจากประเทศพัฒนา โดยไม่คำนึงถึงสภาพที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของประเทศ จนนำไปสู่การสูญเปล่าทางการศึกษา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
The enemy of the best is often the good.
Stephen R.Covey.
*********************************************************************************
ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา สถาบันการศึกษาเหล่านี้ ไม่อาจจัดการศึกษาในลักษณะที่มากขึ้นแต่เหมือนเดิม( more of the same) ได้อีกต่อไป แน่นอนว่าเมื่อสังคมให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพการศึกษามากชึ้น การวิจารณ์การศึกษาในแง่มุมต่างๆจึงเกิดขึ้นตามมา
มีผู้วิจารณ์ว่าการศึกษาสมัยนี้เสื่อมลงกว่าแต่ก่อน ซึ่งผู้วิจารณ์ประเภทนี้มักจะเป็นผู้ที่มองแต่เรื่องดีๆในอดีต ในช่วงที่ผู้วิจารณ์กำลังเรียนหนังสืออยู่ เช่น วิจารณ์ว่าสมัยก่อนหลักสูตรมีเนื้อหาที่เป็นแก่นสาร ครูทุ่มเทในการสอน ครูมีความสำนึกต่อหน้าที่ ครูเป็นผู้รักษาวินัย และเรียกร้องเรื่องมาตรฐาน นักเรียนเองก็เรียนอย่างจริงจัง ทำงานหนักและมีความรู้ที่แน่นกว่าเด็กสมัยนี้ คำวิจารณ์ลักษณะนี้ตั้งอยู่บนความคิดของคุณภาพที่หยุดนิ่งอยู่กับที่
เป็นความคิดที่ผูกติดอยู่กับมาตรฐาน ซึ่งผู้วิจารณ์ถือว่าเป็นความจริงอันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นความคิดที่ผู้วิจารณ์ยึดถือว่าเป็นเรื่องที่ดีงามและถูกต้องทุกสมัย ทุกสถานที่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและกฎเกณฑ์ที่ยึดถือมาตั้งแต่ดังเดิมจึงเป็นการกระทำไม่ถูกต้อง ความคิดลักษณะนี้เป็นความคิดที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยความเป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน สัมพันธ์ในแง่ของเวลา ผู้เรียน และสถาพแวดล้อม อะไรเป็นการศึกษาที่ดีมีคุณภาพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือไทย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แน่นอนว่าไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันหรือผู้เรียนในคริสต์ศตวรรษที่ 21
การตัดสินว่าระบบการศึกษาใดมีคุณภาพหรือไม่ จะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าเป็นการศึกษาเพื่ออะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไร จึงเป็นความผิดพลาดที่เปรียบเทียบเรื่องคุณภาพการศึกษา ระหว่างระบบการศึกษาของประเทศที่แตกต่างกัน หรือแม้ประเทศเดียวกัน แต่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ก็ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้
นอกจากนั้น มักจะเข้าใจผิดว่าการจัดการศึกษามากๆจะเป็นการศึกษาที่แย่ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เพราะการศึกษาเพื่อมวลชนย่อมจัดการได้ยากกว่าการจัดการศึกษาเพื่อชนชั้นสูง แต่ไม่ได้หมายความว่า การศึกษาเพื่อมวลชนจะทำให้มีคุณภาพไม่ได้
การประเมินการปฏิบัติงานของโรงเรียนเช่นกัน มักจะมีแนวโน้มที่จะประเมินปัจจัยภายในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ราวกับว่าโรงเรียนอยู่ในสูญญากาศทางสังคม จริงอยู่ปัจจัยภายในโรงเรียนมีความสำคัญมาก แต่ปัจจัยภายนอกก็มีความสำคัญต่คุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษาเช่นกัน
ปกติปัญหาคุณภาพการศึกษาเกิดจากเหตุเบื้องต้น 2 ประการ คือ
1. เกิดจากความแข็งตัวของระบบการศึกษา ที่ไม่ปล่อยให้หลักสูตรและเนื้อหาวิชาได้ก้าวหน้า ในขณะที่โลกแห่งความรู้และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไปในอัตราที่รวดเร็ว
2. เกิดจากการที่ประเทศกำลังพัฒนานำรูปแบบการศึกษามาจากประเทศพัฒนา ซึ่งไม่เหมาะกับความต้องการ สภาพแวดล้อม และทรัพยากรของประเทศอย่างอย่างแท้จริง
เหล่านี้เป็นสาเหตุเบื้องต้น ที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา
นั่นคือ การจะจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า เป็นการศึกษาเพื่ออะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไร ไม่ใช่คิดแต่จะลอกเลียนระบบการศึกษาจากประเทศพัฒนา โดยไม่คำนึงถึงสภาพที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของประเทศ จนนำไปสู่การสูญเปล่าทางการศึกษา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
The enemy of the best is often the good.
Stephen R.Covey.
*********************************************************************************
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562
ทีมงานเพื่อคุณภาพเป็นอย่างไร
การจัดการคุณภาพทั้งองค์การ จำเป็นจะต้องมีการทำงานเป็นทีม ทั้งนี้เพราะกระบวนการในการปฏิบัติงานไม่ว่าในวงการธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การบริการ และการศึกษา มีความซับซ้อนอยู่เหนือการควบคุมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงบุคคลเดียว วิธีการที่มีประสิทธิภาพวิธีเดียวที่จะปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น หรือสามารถจะแก้ปัญหาได้ก็โดยอาศัยการทำงานเป็นทีม
การใช้ทีมงานสามารถแก้ปัญหาได้หลายลักษณะ ดังนี้
1. ปัญหาที่มีความซับซ้อน หลากหลาย ใหญ่โต เหนือสมรรถนะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือแผนกใดแผนกหนึ่ง สามารถแก้ไขได้จากการระดมทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของทีมงาน
2. ปัญหาที่ต้องการความหลากหลายของความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และต้องการที่จะแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินการได้โดยใช้ทีมงาน
3. วิธีแก้ปัญหาโดยอาศัยการทำงานเป็นทีม จะสร้างความพอใจให้กับสมาชิกในทีมมากกว่า และจะสร้างขวัญ สร้างความเป็นเจ้าของ ด้วยการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
4. สามารถแก้ปัญหาที่ข้ามแผนก หรือข้ามขอบข่าย หรือข้ามหน้าที่ได้ง่ายขึ้น ความขัดแย้งที่แท้จริงหรือศักยภาพของความขัดแย้ง สามารถระบุได้ง่ายกว่า และสามารถแก้ปัญหาได้
5. การแนะนำหรือข้อเสนอแนะสามารถนำไปใช้กับทีมงานได้ มากกว่าการแนะนำเป็นรายบุคคล ทำให้คุณภาพในการตัดสินใจในการทำงานมีสูง
อย่างไรก็ตาม ทีมงานที่สามารถทำงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาได้ จะต้องเป็นทีมงานที่มีประสิทธิผล
สำหรับทีมงานที่มีประสิทธิผลมีลักษณะดังนี้
1. เป้าหมาย ทีมงานจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการสร้างเป้าหมายร่วมกัน และเป้าหมายมีความสำคัญสำหรับแต่ละบุคคลในกลุ่ม
2. การมีส่วนร่วม ผู้รวมทีมทั้งหมดมีความกระตือรือร้น และรับฟังซึ่งกันและกัน
3 ความรู้สึก ผู้ร่วมทีมจะต้องมีความรู้สึกอิสระในการแสดงออก และการแสดงออกนั้นจะต้องได้รับการสนองตอบ
4. ปัญหาของกลุ่ม จะต้องได้รับการวินิจฉัย ได้รับการดูแล และได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ
5. ความเป็นผู้นำ ผู้นำจะต้องแสดงออก เพื่อสนองตอบความต้องการเฉพาะบางอย่าง
6. การตัดสินใจ การตัดสินใจของทีมเกิดจากความเห็นพ้องต้องกัน และใช้ความคิดเห็นของทีม เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจให้ดีขึ้น
7. ความเชื่อถือ สมาชิกในทีมงานจะต้องเชื่อถือซึ่งกันและกัน สามารถแสดงปฏิกิริยาในทางลบโดยปราศจากความเกรงกลัว
8. การสร้างสรรค์ ทีมงานจะต้องแสวงหาวิธ๊การใหม่ๆและดีกว่าอยู่เสมอ
นอกจากนั้น ทีมงานจะมีประสิทธิผลได้จะต้องมีทรัพยากรเพียงพอ มีกฎเกณฑ์ในการทำงาน ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และสามารถเข้าไปตวจสอบได้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
Your boss is your customer. Your colleagues are the competition.
Richard Templar
*********************************************************************************
การใช้ทีมงานสามารถแก้ปัญหาได้หลายลักษณะ ดังนี้
1. ปัญหาที่มีความซับซ้อน หลากหลาย ใหญ่โต เหนือสมรรถนะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือแผนกใดแผนกหนึ่ง สามารถแก้ไขได้จากการระดมทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของทีมงาน
2. ปัญหาที่ต้องการความหลากหลายของความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และต้องการที่จะแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินการได้โดยใช้ทีมงาน
3. วิธีแก้ปัญหาโดยอาศัยการทำงานเป็นทีม จะสร้างความพอใจให้กับสมาชิกในทีมมากกว่า และจะสร้างขวัญ สร้างความเป็นเจ้าของ ด้วยการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
4. สามารถแก้ปัญหาที่ข้ามแผนก หรือข้ามขอบข่าย หรือข้ามหน้าที่ได้ง่ายขึ้น ความขัดแย้งที่แท้จริงหรือศักยภาพของความขัดแย้ง สามารถระบุได้ง่ายกว่า และสามารถแก้ปัญหาได้
5. การแนะนำหรือข้อเสนอแนะสามารถนำไปใช้กับทีมงานได้ มากกว่าการแนะนำเป็นรายบุคคล ทำให้คุณภาพในการตัดสินใจในการทำงานมีสูง
อย่างไรก็ตาม ทีมงานที่สามารถทำงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาได้ จะต้องเป็นทีมงานที่มีประสิทธิผล
สำหรับทีมงานที่มีประสิทธิผลมีลักษณะดังนี้
1. เป้าหมาย ทีมงานจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการสร้างเป้าหมายร่วมกัน และเป้าหมายมีความสำคัญสำหรับแต่ละบุคคลในกลุ่ม
2. การมีส่วนร่วม ผู้รวมทีมทั้งหมดมีความกระตือรือร้น และรับฟังซึ่งกันและกัน
3 ความรู้สึก ผู้ร่วมทีมจะต้องมีความรู้สึกอิสระในการแสดงออก และการแสดงออกนั้นจะต้องได้รับการสนองตอบ
4. ปัญหาของกลุ่ม จะต้องได้รับการวินิจฉัย ได้รับการดูแล และได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ
5. ความเป็นผู้นำ ผู้นำจะต้องแสดงออก เพื่อสนองตอบความต้องการเฉพาะบางอย่าง
6. การตัดสินใจ การตัดสินใจของทีมเกิดจากความเห็นพ้องต้องกัน และใช้ความคิดเห็นของทีม เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจให้ดีขึ้น
7. ความเชื่อถือ สมาชิกในทีมงานจะต้องเชื่อถือซึ่งกันและกัน สามารถแสดงปฏิกิริยาในทางลบโดยปราศจากความเกรงกลัว
8. การสร้างสรรค์ ทีมงานจะต้องแสวงหาวิธ๊การใหม่ๆและดีกว่าอยู่เสมอ
นอกจากนั้น ทีมงานจะมีประสิทธิผลได้จะต้องมีทรัพยากรเพียงพอ มีกฎเกณฑ์ในการทำงาน ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และสามารถเข้าไปตวจสอบได้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
Your boss is your customer. Your colleagues are the competition.
Richard Templar
*********************************************************************************
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562
บ้านแห่งคุณภาพเป็นอย่างไร
บ้านแห่งคุณภาพ( The House of Quality) เป็นการเปรียบเทียบความคิดรวบยอดและหลักการพื้นฐานที่สัมพันธ์กับคุณภาพทั้งองค์การกับบ้าน ซึ่งโดยปกติบ้านจะต้องมีหลังคา เสา พื้นฐาน และฐานราก ถ้าองค์ประกอบเหล่านี้ของบ้านมีความแข็งแรงหรือมีคุณภาพ บ้านจะมีคุณภาพด้วย
องค์การที่มีคุณภาพก็เช่นเดียวกับบ้านแห่งคุณภาพ ที่จะต้องมีหลังคา เสา พื้นฐาน และฐานรากที่มีคุณภาพจึงจะดำรงความเป็นบ้านแห่งคุณภาพอยู่ได้
Ralph G. Lewis และ Douglas H. Smith อธิบายว่าสาระสำคัญเกี่ยวกับบ้านแห่งคุณภาพมีดังนี้
1. หลังคา (Roof) เป็นโครงสร้างใหญ่อันประกอบด้วยระบบย่อย 3 ระบบ คือ
1.1 ระบบสังคม(Social system) โดยพื้นฐานแล้ว ระบบสังคมคือวัฒนธรรมขององค์การนั่นเอง ระบบสังคมมีผลกระทบต่อการทำงานเป็นทีม การจูงใจ การสร้างสรรค์ และการเสี่ยง ระบบสังคมรวมถึงโครงสร้างของรางวัล สัญลักษณ์ของอำนาจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม สิทธิพิเศษ ทักษะ รูปแบบโครงสร้างของอำนาจ การปรับปรุงบรรทัดฐานและค่านิยม ตลอดจนองค์ประกอบเชิงมนุษย์
1.2 ระบบเทคนิค(Technical system) เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของงานทั้งองค์การ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน ไม่ว่างานนั้นจะทำโดยใช้เครื่องมือ คอมพิวเตอร์ หรือใช้มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นงานใช้มือหรือใช้สมอง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในโรงงานหรือในสำนักงาน ล้วนจัดอยู่ในระบบเทคนิคทั้งสิ้น
1.3 ระบบการจัดการ(The management system) เป็นระบบที่ทำให้เกิดบูรณาการ เป็นระบบที่กำหนดวิธีการปฏิบัติ การดำเนินการ พิธีการ และนโยบายในการสร้างและบำรุงรักษา เป็นระบบขององค์การที่บอกว่าวิธีการต่างๆจะดำเนินไปได้อย่างไร
2. เสา(Four pillars) บ้านแห่งคุณภาพประกอบด้วยเสา 4 เสา คือ ความพอใจของลูกค้า การปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพูดตามข้อเท็จจริง และเคารพในผู้ใช้บริการ
3. พื้นฐาน(Foundation) ประกอบด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการ การจัดการโครงการ และการจัดการภารกิจของแต่ละบุคคล
4. ฐานราก(Four cornerstones) ประกอบด้วยพันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม และวัตถุประสงค์ ที่สนับสนุนและมีบูรณาการกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนปฏิบัติการ การวางแผนโครงการ และการวางแผนเชิงคุณภาพ ที่ค้ำยันการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการ การจัดการโครงการ และการจัดภารกิจของแต่ละบุคคลอีกชั้นหนึ่ง
องค์ประกอบทั้ง 4 แห่งบ้านคุณภาพ จะมีผลต่อคุณภาพของบ้าน ถ้าองค์ประกอบทั้ง 4 มีคุณภาพ บ้านก็จะมีคุณภาพด้วย ในเชิงประยุกต์ คุณภาพขององค์การหรือสถาบันต่างๆจะมีคุณภาพหรือไม่จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทั้ง 4 เช่นกัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
Good listening is a skill, a special talent, that you will have to practise and learn.
Richard Templar
*********************************************************************************
องค์การที่มีคุณภาพก็เช่นเดียวกับบ้านแห่งคุณภาพ ที่จะต้องมีหลังคา เสา พื้นฐาน และฐานรากที่มีคุณภาพจึงจะดำรงความเป็นบ้านแห่งคุณภาพอยู่ได้
Ralph G. Lewis และ Douglas H. Smith อธิบายว่าสาระสำคัญเกี่ยวกับบ้านแห่งคุณภาพมีดังนี้
1. หลังคา (Roof) เป็นโครงสร้างใหญ่อันประกอบด้วยระบบย่อย 3 ระบบ คือ
1.1 ระบบสังคม(Social system) โดยพื้นฐานแล้ว ระบบสังคมคือวัฒนธรรมขององค์การนั่นเอง ระบบสังคมมีผลกระทบต่อการทำงานเป็นทีม การจูงใจ การสร้างสรรค์ และการเสี่ยง ระบบสังคมรวมถึงโครงสร้างของรางวัล สัญลักษณ์ของอำนาจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม สิทธิพิเศษ ทักษะ รูปแบบโครงสร้างของอำนาจ การปรับปรุงบรรทัดฐานและค่านิยม ตลอดจนองค์ประกอบเชิงมนุษย์
1.2 ระบบเทคนิค(Technical system) เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของงานทั้งองค์การ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน ไม่ว่างานนั้นจะทำโดยใช้เครื่องมือ คอมพิวเตอร์ หรือใช้มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นงานใช้มือหรือใช้สมอง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในโรงงานหรือในสำนักงาน ล้วนจัดอยู่ในระบบเทคนิคทั้งสิ้น
1.3 ระบบการจัดการ(The management system) เป็นระบบที่ทำให้เกิดบูรณาการ เป็นระบบที่กำหนดวิธีการปฏิบัติ การดำเนินการ พิธีการ และนโยบายในการสร้างและบำรุงรักษา เป็นระบบขององค์การที่บอกว่าวิธีการต่างๆจะดำเนินไปได้อย่างไร
2. เสา(Four pillars) บ้านแห่งคุณภาพประกอบด้วยเสา 4 เสา คือ ความพอใจของลูกค้า การปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพูดตามข้อเท็จจริง และเคารพในผู้ใช้บริการ
3. พื้นฐาน(Foundation) ประกอบด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการ การจัดการโครงการ และการจัดการภารกิจของแต่ละบุคคล
4. ฐานราก(Four cornerstones) ประกอบด้วยพันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม และวัตถุประสงค์ ที่สนับสนุนและมีบูรณาการกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนปฏิบัติการ การวางแผนโครงการ และการวางแผนเชิงคุณภาพ ที่ค้ำยันการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการ การจัดการโครงการ และการจัดภารกิจของแต่ละบุคคลอีกชั้นหนึ่ง
องค์ประกอบทั้ง 4 แห่งบ้านคุณภาพ จะมีผลต่อคุณภาพของบ้าน ถ้าองค์ประกอบทั้ง 4 มีคุณภาพ บ้านก็จะมีคุณภาพด้วย ในเชิงประยุกต์ คุณภาพขององค์การหรือสถาบันต่างๆจะมีคุณภาพหรือไม่จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทั้ง 4 เช่นกัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
Good listening is a skill, a special talent, that you will have to practise and learn.
Richard Templar
*********************************************************************************
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562
การปฏิรูปการศึกษาไทย พ.ศ.2517
การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2517ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา"
คณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่พิจารณาการศึกษาทั้งระบบและกระบวนการเพื่อตรวจสอบปัญหา พร้อมทั้งแสวงหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง ให้การศึกษาสามารถสนองตอบความหวังของประชาชนส่วนใหญ่ สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระบอบประชาธิปไตย และเหมาะสมแก่กาลสมัย
คณะกรรมการชุดนี้ได้เสนอเอกสารชื่อ "แนวทางปฏิรูปการศึกษาสำหรับรัฐบาลในอนาคต" ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. สาเหตุที่ต้องปฏิรูปการศึกษา คณะกรรมการเห็นว่าควรมีการปฏิรูปการศึกษา ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1.1 ปัญหาอันเกิดจากการเปลียนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ คือสภาพสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่การศึกษาไม่ได้จัดเพื่อปรับปรุงชีวิตและสังคมให้ดีขึ้น ตลอดจนไม่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพและการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น เป็นการศึกษาเพื่อคนส่วนน้อย ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างทางฐานะ เศรษฐกิจ และละทิ้งคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกรให้ล้าหลัง
1.2 ปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนไทย การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้แนวความคิดของคนไทยเปลี่ยนไป เกิดแนวคิดเรื่องชนชั้น ความเสมอภาคในสังคม การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ แนวคิดเหล่านี้ทำให้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รู้จักใช้เหตุผลพิจารณาปัญหาอย่างลึกซึ้ง
1.3 ปัญหาอันเกิดจากระบบการศึกษาเอง คือจุดมุ่งหมายการศึกษาของไทยมุ่งสร้างคนเพื่อรับราชการ และต่อมาเพื่อสร้างแรงงานชั้นสูงและชั้นกลาง เป็นการศึกษาเพื่อคนส่วนน้อย ส่วนแนวคิดใหม่ทางการศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ซึ่งจำเป็นจะต้องปรับปรุงโครงสร้างของระบบการศึกษาใหม่เป็นระบบเปิด หลักสูตรควรสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก และตั้งอยู่บนความจริงของแผ่นดินไทย
2. แนวทางการปฏิรูปการศึกษา คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเสนอแนะไว้ดังนี้
2.1 ลักษณะการศึกษาที่พึงประสงค์ จะต้องเป็นการศึกษาที่เสริมสร้างความรู้ ความคิด และความชำนาญ ให้คนไทยทุกคนรู้จักตนเอง รู้จักชีวิตและเช้าใจสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ตนร่วมอยู่ เพื่อให้สามารถครองชีวิตและประกอบกิจการงานได้ด้วยความรู้เท่าทัน แก้ปัญหาได้ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมได้ดีขึ้นอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ
2.2 ความมุ่งหมายการศึกษาที่พึงประสงค์ ได้แก่
1) จะต้องสร้างสำนึกของความเป็นไทย และเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ
2) ปลูกฝังให้บุคคลยึดมั่นในความสามารถ ความยุติธรรม รักอิสรภาพ รักการแสวงหาความจริง เคารพกฎหมาย และเคารพความเสมอภาคในสังคม
3) ช่วยให้บุคคลเข้าใจและกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองตามวิถีทางประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรับผิดชอบตอ่สังคมและตนเอง
4) เสริมสร้างความรู้ความสามารถแก่บุคคลในสังคมเดียวกัน ให้สื่อสารเข้าใจกัน
5) เสริมสร้างบุคคลให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีศีลธรรม มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่ม และรู้จักใช้ความสามารถของตนให้เกิดผลดีต่อสังคม
6) เสริมสร้างความรู้ความชำนาญ ความนิยมนับถือในงานอาชีพต่างๆ สามารถประกอบกิจการงานด้วยความรอบรู้เท่าทันและแก้ปัญหาได้
7) เสริมสร้างให้บุคคลมีความรู้ความซาบซึ้งในคุณค่าของธรรมชาติ ศิลปะวัฒนธรรม และวิทยาการต่างๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
2.3 ผู้ที่ควรได้รับความสนใจและได้ประโยชน์สูงสุดจากการจัดการศึกษาของรัฐ รัฐจะต้องจัดการศึกษาเพื่อมุ่งประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน และมีโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษา
2.4 แนวทางในการบริหารจัดการศึกษา มีดังนี้
1) จะต้องเน้นความเสมอภาคทางการศึกษา
2) จะต้องจัดให้มีเอกภาพในการบริหารการศึกษา
3) จะต้องเลือกสรรทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ
4) จะต้องจัดให้มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาในโรงเรียนกับการศึกษานอกโรงเรียน
5) จะต้องจัดให้มีสาระ กระบวนการเรียนรู้ มีความผสมผสานความงอกงามทางคุณภาพ จริยธรรม และปัญญา กับความเจริญทางวัตถุ
6) จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทฐานะของครู ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
7) จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตลอดเวลา
3. เงื่อนไขที่จำเป็นต่อการปฏิรูปการศึกษา มี 2 ประการ คิอ
3.1 จะต้องปฏิรูปการศึกษาทั้งในหลักการ ระบบ และกระบวนการ มีการกำหนดเวลาและขั้นตอนให้เหมาะสม
3.2 จะต้องปฏิรูประบบแลโครงสร้างอื่นที่สัมพันธ์กับการศึกษา โดยให้เกื้อกูลซึ่งกันและกันกับการจัดการศึกษาตามแนวใหม่
จะเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2517 มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดลอม ปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนไทย และปัญหาอันเกิดจากระบบการศึกษาเอง และด้วยเหตุจากการเปลี่ยนแปงทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา การศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และการศึกษาเพื่อชีวิต
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคำ
คนชั่วไม่เพียงทำลายผู้อื่น แต่ทำลายตัวเองด้วย
โสเครตีส
*********************************************************************************
คณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่พิจารณาการศึกษาทั้งระบบและกระบวนการเพื่อตรวจสอบปัญหา พร้อมทั้งแสวงหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง ให้การศึกษาสามารถสนองตอบความหวังของประชาชนส่วนใหญ่ สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระบอบประชาธิปไตย และเหมาะสมแก่กาลสมัย
คณะกรรมการชุดนี้ได้เสนอเอกสารชื่อ "แนวทางปฏิรูปการศึกษาสำหรับรัฐบาลในอนาคต" ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. สาเหตุที่ต้องปฏิรูปการศึกษา คณะกรรมการเห็นว่าควรมีการปฏิรูปการศึกษา ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1.1 ปัญหาอันเกิดจากการเปลียนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ คือสภาพสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่การศึกษาไม่ได้จัดเพื่อปรับปรุงชีวิตและสังคมให้ดีขึ้น ตลอดจนไม่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพและการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น เป็นการศึกษาเพื่อคนส่วนน้อย ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างทางฐานะ เศรษฐกิจ และละทิ้งคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกรให้ล้าหลัง
1.2 ปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนไทย การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้แนวความคิดของคนไทยเปลี่ยนไป เกิดแนวคิดเรื่องชนชั้น ความเสมอภาคในสังคม การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ แนวคิดเหล่านี้ทำให้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รู้จักใช้เหตุผลพิจารณาปัญหาอย่างลึกซึ้ง
1.3 ปัญหาอันเกิดจากระบบการศึกษาเอง คือจุดมุ่งหมายการศึกษาของไทยมุ่งสร้างคนเพื่อรับราชการ และต่อมาเพื่อสร้างแรงงานชั้นสูงและชั้นกลาง เป็นการศึกษาเพื่อคนส่วนน้อย ส่วนแนวคิดใหม่ทางการศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ซึ่งจำเป็นจะต้องปรับปรุงโครงสร้างของระบบการศึกษาใหม่เป็นระบบเปิด หลักสูตรควรสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก และตั้งอยู่บนความจริงของแผ่นดินไทย
2. แนวทางการปฏิรูปการศึกษา คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเสนอแนะไว้ดังนี้
2.1 ลักษณะการศึกษาที่พึงประสงค์ จะต้องเป็นการศึกษาที่เสริมสร้างความรู้ ความคิด และความชำนาญ ให้คนไทยทุกคนรู้จักตนเอง รู้จักชีวิตและเช้าใจสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ตนร่วมอยู่ เพื่อให้สามารถครองชีวิตและประกอบกิจการงานได้ด้วยความรู้เท่าทัน แก้ปัญหาได้ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมได้ดีขึ้นอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ
2.2 ความมุ่งหมายการศึกษาที่พึงประสงค์ ได้แก่
1) จะต้องสร้างสำนึกของความเป็นไทย และเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ
2) ปลูกฝังให้บุคคลยึดมั่นในความสามารถ ความยุติธรรม รักอิสรภาพ รักการแสวงหาความจริง เคารพกฎหมาย และเคารพความเสมอภาคในสังคม
3) ช่วยให้บุคคลเข้าใจและกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองตามวิถีทางประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรับผิดชอบตอ่สังคมและตนเอง
4) เสริมสร้างความรู้ความสามารถแก่บุคคลในสังคมเดียวกัน ให้สื่อสารเข้าใจกัน
5) เสริมสร้างบุคคลให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีศีลธรรม มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่ม และรู้จักใช้ความสามารถของตนให้เกิดผลดีต่อสังคม
6) เสริมสร้างความรู้ความชำนาญ ความนิยมนับถือในงานอาชีพต่างๆ สามารถประกอบกิจการงานด้วยความรอบรู้เท่าทันและแก้ปัญหาได้
7) เสริมสร้างให้บุคคลมีความรู้ความซาบซึ้งในคุณค่าของธรรมชาติ ศิลปะวัฒนธรรม และวิทยาการต่างๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
2.3 ผู้ที่ควรได้รับความสนใจและได้ประโยชน์สูงสุดจากการจัดการศึกษาของรัฐ รัฐจะต้องจัดการศึกษาเพื่อมุ่งประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน และมีโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษา
2.4 แนวทางในการบริหารจัดการศึกษา มีดังนี้
1) จะต้องเน้นความเสมอภาคทางการศึกษา
2) จะต้องจัดให้มีเอกภาพในการบริหารการศึกษา
3) จะต้องเลือกสรรทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ
4) จะต้องจัดให้มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาในโรงเรียนกับการศึกษานอกโรงเรียน
5) จะต้องจัดให้มีสาระ กระบวนการเรียนรู้ มีความผสมผสานความงอกงามทางคุณภาพ จริยธรรม และปัญญา กับความเจริญทางวัตถุ
6) จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทฐานะของครู ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
7) จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตลอดเวลา
3. เงื่อนไขที่จำเป็นต่อการปฏิรูปการศึกษา มี 2 ประการ คิอ
3.1 จะต้องปฏิรูปการศึกษาทั้งในหลักการ ระบบ และกระบวนการ มีการกำหนดเวลาและขั้นตอนให้เหมาะสม
3.2 จะต้องปฏิรูประบบแลโครงสร้างอื่นที่สัมพันธ์กับการศึกษา โดยให้เกื้อกูลซึ่งกันและกันกับการจัดการศึกษาตามแนวใหม่
จะเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2517 มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดลอม ปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนไทย และปัญหาอันเกิดจากระบบการศึกษาเอง และด้วยเหตุจากการเปลี่ยนแปงทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา การศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และการศึกษาเพื่อชีวิต
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคำ
คนชั่วไม่เพียงทำลายผู้อื่น แต่ทำลายตัวเองด้วย
โสเครตีส
*********************************************************************************
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562
การปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความจริงการปฏิรูปการศึกษา เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางการเมือง หรือการคุกคามของของจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งเริ่มต้นคุกคามเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง กับปัจจัยทางสติปัญญาหรือการท้าทายทางความคิดของตะวันตก ซึ่งท้าทายระบบสังคมแบบโบราณของไทย
อันเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง 2 พระองค์ทรงตระหนักถึงภัยของจักรวรรดินิยมตะวันตก และเห็นความสำคัญของความคิดของตะวันตก จึงเริ่มมีการปรับปรุงการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาไทยที่ทำให้เกิดระบบโรงเรียน อันเป็นตัวแบบของการจัดการศึกษาไทยในสมัยปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอใเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปีพ.ศ. 2411 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้จำเป็นจะต้องปรับปรุงการทหารให้มีประสิทธิภาพพอที่จะป้องกันชายแดนพระราชอาณาจักร การศึกษาแผนใหม่ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2411 ก็เพื่อสนองการป้องกันประเทศเช่นเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยคือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า วิทยาการต่างๆของตะวันตกที่ไทยเริ่มรู้เห็นความสำคัญจึงเป็น ปืนใหญ่ เรือกลไฟ และการจัดระเบียบกองทัพ ความรู้ตะวันตกที่นำมาใช้ส่วนมากเป็นเทคนิคในการจัดกองทัพ เพื่อใช้อาวุธมากกว่าเทคนิคการผลิตอาวุธ ในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดตั้งโรงเรียนแผนใหม่ขึ้น แต่ในระยะแรกส่วนใหญ่จึงเป็นสถานศึกษาสำหรับวิชาทหาร
2. ความต้องการกำลังคนที่มีความรู้เข้ารับราชการ การที่สมัยรัชกาลที่ 5 ต้องการคนเข้ารับราชการเพิ่มขึ้นจำนวนมาก มีสาเหตุมาจาก
2.1นโยบายสร้างชาติ โดยการโยงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง กลไกของรัฐขยายตัว ทำให้ต้องส่งคนไปทำหน้าที่ตามหัวเมืองมากขึ้น
2.2 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อว่า ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในมรสุมของลัทธิล่าอาณานิคม จำเป็นต้องมีผู้นำ การสร้างข้าราชการที่พร้อมทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการนำประเทศไปสู่ความเจริญ
2.3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องการข้าราชการมากขึ้น การเปิดประเทศทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าขาย และการขยายตัวทางการค้า ทำให้เกิดเมืองต่างๆ มีผลทำให้เกิดความต้องการข้าราชการจำนวนมาก ที่จะไปทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองเหล่านั้น
3. พระบาทสมเด็พระเจ้าพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตกจากผู้ถวายความรู้ซึ่งเป็นคนตะวันตก นอกจากนั้น พระองค์ยังได้เสด็จประพาสยุโรป ทรงเห็นความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง และทรงเห็นว่า เหตุของความเจริญทั้งหลายมีการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ หลังจากเสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ.2440 ทำให้เกิดแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับแรก ในชื่อว่า "โครงการศึกษา พ.ศ.2441"
4. ความคิดและความรู้ใหม่ๆที่ชาวตะวันตกนำเข้ามาเผยแพร่ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ การนำเครื่องพิมพ์มาใช้ ตลอดจนการตั้งโรงเรียนของหมอสอนศาสนา
เหล่านี้ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ.2414 เรียกว่าโรงเรียนหลวง เป็นการก้าวออกจากวงการศึกษาตามธรรมเนียมไทยโบราณ เป็นสถานที่เล่าเรียนที่จัดขึ้นโดยเฉพาะ มีครูสอนตามเวลาที่กำหนด วิชาที่สอนมี ภาษไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆ มีการรับนักเรียนโดยเฉพาะเพื่อที่จะฝึกหัดเล่าเรียน เพื่อให้รู้หนังสือ รู้จักคิดเลข และธรรมเนียมราชการ และต่อมาระบบโรงเรียนได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
พุทธศาสนสุภาษิต
*********************************************************************************
อันเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง 2 พระองค์ทรงตระหนักถึงภัยของจักรวรรดินิยมตะวันตก และเห็นความสำคัญของความคิดของตะวันตก จึงเริ่มมีการปรับปรุงการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาไทยที่ทำให้เกิดระบบโรงเรียน อันเป็นตัวแบบของการจัดการศึกษาไทยในสมัยปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอใเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปีพ.ศ. 2411 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้จำเป็นจะต้องปรับปรุงการทหารให้มีประสิทธิภาพพอที่จะป้องกันชายแดนพระราชอาณาจักร การศึกษาแผนใหม่ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2411 ก็เพื่อสนองการป้องกันประเทศเช่นเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยคือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า วิทยาการต่างๆของตะวันตกที่ไทยเริ่มรู้เห็นความสำคัญจึงเป็น ปืนใหญ่ เรือกลไฟ และการจัดระเบียบกองทัพ ความรู้ตะวันตกที่นำมาใช้ส่วนมากเป็นเทคนิคในการจัดกองทัพ เพื่อใช้อาวุธมากกว่าเทคนิคการผลิตอาวุธ ในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดตั้งโรงเรียนแผนใหม่ขึ้น แต่ในระยะแรกส่วนใหญ่จึงเป็นสถานศึกษาสำหรับวิชาทหาร
2. ความต้องการกำลังคนที่มีความรู้เข้ารับราชการ การที่สมัยรัชกาลที่ 5 ต้องการคนเข้ารับราชการเพิ่มขึ้นจำนวนมาก มีสาเหตุมาจาก
2.1นโยบายสร้างชาติ โดยการโยงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง กลไกของรัฐขยายตัว ทำให้ต้องส่งคนไปทำหน้าที่ตามหัวเมืองมากขึ้น
2.2 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อว่า ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในมรสุมของลัทธิล่าอาณานิคม จำเป็นต้องมีผู้นำ การสร้างข้าราชการที่พร้อมทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการนำประเทศไปสู่ความเจริญ
2.3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องการข้าราชการมากขึ้น การเปิดประเทศทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าขาย และการขยายตัวทางการค้า ทำให้เกิดเมืองต่างๆ มีผลทำให้เกิดความต้องการข้าราชการจำนวนมาก ที่จะไปทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองเหล่านั้น
3. พระบาทสมเด็พระเจ้าพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตกจากผู้ถวายความรู้ซึ่งเป็นคนตะวันตก นอกจากนั้น พระองค์ยังได้เสด็จประพาสยุโรป ทรงเห็นความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง และทรงเห็นว่า เหตุของความเจริญทั้งหลายมีการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ หลังจากเสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ.2440 ทำให้เกิดแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับแรก ในชื่อว่า "โครงการศึกษา พ.ศ.2441"
4. ความคิดและความรู้ใหม่ๆที่ชาวตะวันตกนำเข้ามาเผยแพร่ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ การนำเครื่องพิมพ์มาใช้ ตลอดจนการตั้งโรงเรียนของหมอสอนศาสนา
เหล่านี้ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ.2414 เรียกว่าโรงเรียนหลวง เป็นการก้าวออกจากวงการศึกษาตามธรรมเนียมไทยโบราณ เป็นสถานที่เล่าเรียนที่จัดขึ้นโดยเฉพาะ มีครูสอนตามเวลาที่กำหนด วิชาที่สอนมี ภาษไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆ มีการรับนักเรียนโดยเฉพาะเพื่อที่จะฝึกหัดเล่าเรียน เพื่อให้รู้หนังสือ รู้จักคิดเลข และธรรมเนียมราชการ และต่อมาระบบโรงเรียนได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
พุทธศาสนสุภาษิต
*********************************************************************************
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562
การปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างไร
การปฏิรูป(Reformation) เป็นคำที่พบเสมอเมื่อต้องการบอกถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น ปฏิรูปสังคม ปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูปการเมือง ฯลฯ
อย่างคำว่าปฏิรูปสังคมในความหมายที่กว้าง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม อุดมการณ์ และโครงสร้างทางเมืองครั้งสำคัญ ปกติจะเกิดขึ้นขึ้นหลังจากปฏิวัติ หรือการยึดครองการเมืองที่รุนแรง
การปฏิรูปอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ การปฏิรูปบางครั้งถูกใช้ในความหมายของความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
การปฏิรูปอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ การปฏิรูปบางครั้งถูกใช้ในความหมายของความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
ในทางการศึกษา การปฏิรูป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบการศึกษาของประเทศ โดยการปฏิรูปการศึกษาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ซึ่งได้แก่
1) การจัดสรรทรัพยากรให้กับการศึกษาสาขาต่างๆ
2) การจัดสรรทรัพยากรให้กับระบบการศึกษาทุกระดับ
3) ร้อยละของนักเรียนนักศึกษาซึ่งจบการศึกษาในระดับต่างๆ
4) ร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่มาจากสถานภาพทางสังคมที่แตกต่างกัน หรือร้อยละของสตรีที่จบจากระบบการศึกษาในระดับต่างๆ
5) จุดมุ่งหมายของหลักสูตรและเนื้อหาของหลักสูตร
การปฏิรูปการศึกษามักจะเกี่ยวกับกระบวนการทางการเมือง เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจในการจัดสรรทรัพยากร ตัวอย่างของการปฏิรูปการศึกษาที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การเปลี่ยนจากการศึกษาแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการศึกษาของชนชั้นสูงให้เป็นคนเฉลียวฉลาด เป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ในสังคม เป็นผู้มีความสามารถในเชิงเหตุผล เปลี่ยนเป็นการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการศึกษาเพื่อประชาชนทั้่วไป ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการศึกษา มีผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากรและหลักสูตร
ส่วนการปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
1) ความซับซ้อนของการปฏิรูป
2) ความมุ่งมั่นของระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
3) ความมีรูปแบบเดียวกัน
4) ทรัพยากร
สำหรับยุทธวิธีในการปฏิรูปที่ใช้กันอยู่มี 2 ยุทธวิธี คือยุทธวิธีตรง เป็นยุทธวิธีที่ใช้อำนาจหรืออำนาจเชิงบริหารดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมาย กับ ยุทธวิธีโดยอ้อม เป็นยุทธวิธีที่ใช้สิ่งล่อใจ หรือชักชวนให้เห็นคุณค่าของการปฏิรูป แต่ในความเป็นจริง การปฏิรูปจะประสบควาสำเร็จก็ต่อเมื่อใช้สองยุทธวิธีรวมกัน
การปฏิรูปการศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่และซับซ้อน จำเป็นจะต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมาก ต้องใช้ความมุ่งมั่นทางการเมืองสูง และต้องมีงบประมาณสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ และการปฏิรูปการศึกษาไม่ได้เกิดจากข้าราชการระดับบนและนักการเมืองเท่านั้น แต่ต้องเกิดจากครู ครูใหญ่ ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาด้วย
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้นอกจากจะต้องใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสมแล้ว ผู้มีอำนาจและกรรมการปฏิรูปการศึกษาจะต้องรู้เป็นเบื้องต้นว่าการศึกษาคืออะไร ประเทศมีสภาพและปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างไร และต้องการกำลังคนคนระดับใด จำนวนเท่าไร ไม่ใช่เป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ใช้วิธีการลอกเลียนแบบการปฏิรูปการศึกษาจากต่างประเทศเป็นหลัก เพราะเป็นการปฏิรูปที่นำไปสู่ความล้มเหลวทางการศึกษา เป็นการศึกษาที่ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของประเทศ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคำ
การศึกษา เป็นกระบวนทางสังคมที่ทำหน้าที่ เปลี่ยนแปลง เสริมสร้าง และถ่ายทอด สิ่งที่มีคุณค่าให้กับ สมาชิกในสังคม เพื่อให้เป็นสมาชิกที่สังคมพึงปรารถนา
*********************************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)