เห็นจะยอมรับความจริงกันได้แล้วว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเสื้อสี ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ แม้แต่ปัญหานักเรียนตีกัน ล้วนแต่ปฏิเสธได้ว่าส่วนหนึ่งมีสา่เหตุมาจากการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องของการแสวงหาอำนาจ เป็นเรื่องการใช้อำนาจในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกในสังคม ที่ใดมีคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ที่นั่นมีการเมือง ในครอบครัวก็มีการเมือง ในโรงเรียนก็มีการเมือง มีการรวมกลุ่มกันเมื่อไรเมื่อนั้นก็มีการเมือง
แน่นอนว่า การสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือแม้แต่กรรมการสมาคมฟุตบอล ก็เป็นการแสวงหาอำนาจทางการเมือง เพื่อจะใช้อำนาจหรือมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจ จัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกในสังคมทั้งสิ้น
สิ่งที่มีคุณค่านี้ หมายถึงสิ่งที่คนในสังคมต้องการ อาจจะเป็นตำแหน่งหน้าที่การงาน งบประมาณ บริการสาธารณะสุข ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ การจ่ายเบี้ยยังชีพ ให้ผู้สูงอายุ ให้คนพิการ ให้การศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี หรือการจำนำข้าว ที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ ก็เป็นการใช้อำนาจทางการเมือง เป็นผลของการตัดสินใจทางการเมืองทั้งสิ้น
จะเห็นว่าการเมืองนั้น เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของพลเมืองทุกคน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เมื่อเป็นเช่นนี้ การแสวงหาอำนาจทางการเมือง การต่อสู้ทางการเมือง เพื่อใช้อำนาจทางการเมืองจึงเป็นเรื่องปกติของทุกสังคม
แต่ละครั้งที่มีการแข่งขันเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง จึงมีการต่อสู้อย่างจริงจัง มีการโฆษณาหาเสียง แสดงถึงว่าเป็นผู้มีอุดมการณ์ ตั้งใจจะรับใช้ประชา ชน ซึ่งก็พอจะรับได้ ถึงแม้อุดมการณ์นั้นจะไม่ชัดเจน หรือจำเนื้อหามาจากหนังสือปรัชญาทางการเมือง ก็ตาม แต่ก็มีอีกพวกหนึ่ง แสวงหาอำนาจโดยใช้วิธีการซื้อเสียง กล่าวร้ายป้ายสี ใช้เล่ห์เพทุบายต่างๆนานา เพื่อให้ได้ตำแหน่งทางการเมือง พวกนี้รับได้ยาก แต่นักการเมืองพวกนี้ก็มีมากอยู่
จะเห็นว่าตำแหน่งทางการเมืองนั้น มีทั้งพวกที่ได้มาโดยสุจริต และพวกที่ได้มาโดยใช้วิธีการทุจริต แน่นอนว่าหากได้ตำแหน่งทางการเมืองโดยสุจริต ไม่ฉ้อฉล ก็มีความชอบธรรมในการที่จะจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกในสังคม ในทางกลับกัน หากได้อำนาจมาด้วยวิธีการซื้อเสียง ทุจริตฉ้อฉล จะอ้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจได้ยาก
อย่างไรก็ตาม นักการเมืองเมื่อได้รับการเลือกตั้งมาแล้ว มักจะอ้างความชอบธรรมว่า ตนเข้าสู่ตำแหน่งตามวิถีทางประชาธิปไตย ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนโดยเสียงข้างมาก จึงมักจะทำอะไรก็ได้ ที่ตนอยากจะทำ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน
ความจริงความชอบธรรมนั้น นอกจากจะเกิดจากการได้ตำแหน่งโดยสุจริตแล้ว ยังจะต้องใช้อำนาจโดยสุจริตด้วย การใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง จะอ้างความชอบธรรมไม่ได้
ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยกล่าวไว้ว่า ประชาธิปไตยนั้นผลประโยชน์ของประชาชนต้องเป็นใหญ่ นักการเมืองที่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง นอกจะไม่ชอบธรรมแล้ว ยังไม่เป็นประชาธิปไตยอีกด้วย
การใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยทำนองคลองธรรมของนักการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความวุ่นวายทางสังคม ส่งผลกระทบต่อการดำิเนีิินชีวิตของคุนไทยทุกคน
แต่ก็มีคนไทยส่วนหนึ่ง ที่ยังคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง คนที่ไม่ใช่นักการเมืองไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ปล่อยให้การเมืองแก้ปัญหาด้วยนักการเมือง เป็นการฝากชะตากรรมของตนและของประเทศไว้กับนักการเมือง และนักการเมืองส่วนใหญ่ก็เชื่อย่างนั้น
การวางเฉยทางการเมือง หรือการไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง หากถือคติอย่างนี้ต่อไป ปัญหาต่างๆจะยิ่งหนักขึ้นและมากขึ้น จนยากที่จะแก้ไข
จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้ว ที่คนไทยจะต้องคิดว่า การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองเพียงฝ่ายเดียว ทุกคนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเริ่มตั้งแต่สนใจติดตามข่าวสารทางการเมือง พูดคุยประเด็นทางการเมือง ชักชวนคนอื่นให้เลือกผู้ที่ตนเห็นว่าเป็นคนดี เป็นคนดีที่สามรถอธิบายได้ เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ผลักดันการตัดสินใจของรัฐบาล ตลอดจนเสนอตัวทำงานทางการเมือง แต่จะร่วมในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับสถานภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การติดตามข่าวสารทางการเมือง ทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ จะต้องระลึกไว้เสมอว่าสื่อทั้งหลายเป็นธุรกิจ จะต้องเขียนหรือพูด หรือวิจารณ์ในเรื่องที่ไม่กระทบกับธุรกิจที่ตนทำอยู่ จึงมีสื่อเลือกฝ่ายมากมายทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ยิ่งวิทยุชุมชนยิ่งไปกันใหญ่ ทุกวันนี้วิทยุชุมชนส่วนหนึ่งกลายเป็นแหล่งปลุกระดมเสื้อสีต่างๆ อย่างชัดเจน จึงต้องใช้ดุลยพินิจในการรับฟังข่าวสารทางการเมืองจากสื่อเหล่านั้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นกระบอกเสียงของนักการเมือง เป็นสาวกของเสื้อสีต่างๆโดยไม่รู้ตัว
หากมีเวลา จึงควรติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับ โทรทัศน์หลายๆช่อง วิทยุหลายๆคลื่น
การเข้าร่วมกิจกรรมทางเมืองแม้จะเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน แต่จะต้องคำนึงถึงกฎหมาย กฎเกณฑ์กติกาของสังคมประกอบด้วย มิฉะนั้น ภาวะไร้ระเบียบทางสังคมจะเกิดขึ้น และมีผลทำให้เกิดความหายนะในทุกระบบของประเทศในที่สุด
------------------------------------------
สาระคิด
ให้คนถามว่าทำไมไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ดีกว่าให้คนถามว่าทำไมถึงได้เป็นรัฐมนตรี
นิรนาม
---------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ชีวิตที่พอดี:ตอน 2
ในตอนก่อนได้กล่าวถึงเรื่องชีวิตที่พอดี โดยเน้นที่การกระทำหรือพฤติกรรมของคนเรา ว่าจะทำอะไรให้นึกถึงความพอดี คือไม่มากหรือน้อยเกินไป ชีวิตก็จะดำเนินไปได้อย่างปกติสุข และพอดีได้เจอบทความเรื่อง "ความสุขอยู่ที่รู้ว่าความพอดีอยู่ที่ไหน" ซึ่งเขียนโดย "กาแฟดำ" เห็นว่าสอดคล้องกับเรื่อง"ชีวิตที่พอดี" ที่เขียนไว้เป็นตอนแรก จึงขออนุญาตมาเล่าสู่กันฟัง
กาแฟดำบอกว่าเรื่องที่เขียนได้อ้างอิงจากหนังสือ "เต๋าแห่งสุขภาพ:ปาฏิหารริย์แห่งการฟังร่างกายอยู่เสมอ" ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการดูแลชีวิต ตามวิถีธรรมชาติด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนโบราณ เป็นความพอดีที่เน้นเรื่องจิตใจเป็นสำคัญ มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
หากโกรธเกินไปมีผลต่อตับ ทำให้เลือดทั้งร่างกายสับสน
หากเศร้าโศกเกินไปจะมีผลต่อปอด ทำให้เจ็บหน้าอก และระบบหายใจกับผิวหนังผิดปกติ
หากสนุกสนานมากเหินไป จะทำให้หัวใจอ่อนแอ เกิดโรคหัวใจได้
หากกลัวเกินไปทำให้พลังใจเหือดหาย กระดูกสันหลังเสื่อม ระบบกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะเพศได้รับผลกระทบกระเทือน
หากคิดมากเกินไป จะทำให้ความแจ่มใจของสมองเสื่อมคลาย
หากพูดมากเกินไป จะทำให้เปลืองพลัง ทำให้หมดเรี่ยวแรงเอาง่ายๆ
หากจมอยู่กับอดีตมากเกินไป จะทำให้พลังชีวิตเสื่อมถอย ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำอะไร
หากรีบเร่งมากเกินไป จะทำให้ร่างกายสึกหรอเร็วขึ้น
หากนินทาว่าร้ายคนอื่นมากเกินไป จะทำให้นิสัยและรูปลักษณ์หม่นหมองขุ่นมัวอยู่เป็นอาจิณ
หากพักผ่อนมากเกินไป จะทำลายความมุ่งมั่นตั้งใจจริง
หากยึดติดกับสิ่งใดหรือเรื่องใดมากเกินไป จะตกอยู่ในสภาพเสพติด แล้วจะกลายเป็นทาสของสิ่งนั้น ไม่มีความคิดอ่านเป็นของตัวเอง
หากมีความปรารถนามากเกินไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ จะทำให้สมอง
และจิตวิญญาณสังสนและเสื่อมถอย
นั่นคือ ความพอดีทั้งความคิดและการกระทำ เป็นวิถีชีวิตที่นำไปสู่ความสุข หากมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้ชีวิตเสียสมดุล นำไปสู่ปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน
-----------------------------------------------------
สาระคิด
ความพอดีเป็นที่ตั้งแห่งชีวิต ความรอดตาย ความสงบสุข ทุกคนจงสนใจเรื่องความพอดี อย่าทำอะไรชนิดที่มันเกินพอดี แต่เพราะเรามันโง่ มันจึงยากที่จะรู้ว่าอะไรพอดี
พุทธทาสภิกขุ
------------------------------
กาแฟดำบอกว่าเรื่องที่เขียนได้อ้างอิงจากหนังสือ "เต๋าแห่งสุขภาพ:ปาฏิหารริย์แห่งการฟังร่างกายอยู่เสมอ" ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการดูแลชีวิต ตามวิถีธรรมชาติด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนโบราณ เป็นความพอดีที่เน้นเรื่องจิตใจเป็นสำคัญ มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
หากโกรธเกินไปมีผลต่อตับ ทำให้เลือดทั้งร่างกายสับสน
หากเศร้าโศกเกินไปจะมีผลต่อปอด ทำให้เจ็บหน้าอก และระบบหายใจกับผิวหนังผิดปกติ
หากสนุกสนานมากเหินไป จะทำให้หัวใจอ่อนแอ เกิดโรคหัวใจได้
หากกลัวเกินไปทำให้พลังใจเหือดหาย กระดูกสันหลังเสื่อม ระบบกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะเพศได้รับผลกระทบกระเทือน
หากคิดมากเกินไป จะทำให้ความแจ่มใจของสมองเสื่อมคลาย
หากพูดมากเกินไป จะทำให้เปลืองพลัง ทำให้หมดเรี่ยวแรงเอาง่ายๆ
หากจมอยู่กับอดีตมากเกินไป จะทำให้พลังชีวิตเสื่อมถอย ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำอะไร
หากรีบเร่งมากเกินไป จะทำให้ร่างกายสึกหรอเร็วขึ้น
หากนินทาว่าร้ายคนอื่นมากเกินไป จะทำให้นิสัยและรูปลักษณ์หม่นหมองขุ่นมัวอยู่เป็นอาจิณ
หากพักผ่อนมากเกินไป จะทำลายความมุ่งมั่นตั้งใจจริง
หากยึดติดกับสิ่งใดหรือเรื่องใดมากเกินไป จะตกอยู่ในสภาพเสพติด แล้วจะกลายเป็นทาสของสิ่งนั้น ไม่มีความคิดอ่านเป็นของตัวเอง
หากมีความปรารถนามากเกินไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ จะทำให้สมอง
และจิตวิญญาณสังสนและเสื่อมถอย
นั่นคือ ความพอดีทั้งความคิดและการกระทำ เป็นวิถีชีวิตที่นำไปสู่ความสุข หากมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้ชีวิตเสียสมดุล นำไปสู่ปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน
-----------------------------------------------------
สาระคิด
ความพอดีเป็นที่ตั้งแห่งชีวิต ความรอดตาย ความสงบสุข ทุกคนจงสนใจเรื่องความพอดี อย่าทำอะไรชนิดที่มันเกินพอดี แต่เพราะเรามันโง่ มันจึงยากที่จะรู้ว่าอะไรพอดี
พุทธทาสภิกขุ
------------------------------
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ชีวิตที่พอดี
ความพอดี หมายถึงความไม่มากไม่น้อยเกินไป การกระทำใดๆแม้จะเป็นการกระทำที่ดี หากมากหรือน้อยเกินไป สามารถจะก่อให้เกิดปัญหาได้ ไม่เป็นปัญหาของตนก็เป็นปัญหากับคนรอบข้าง
ความพอดีนั้น จะแตกต่างไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล แตกต่างไปตาม อายุ สุขภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจ และสถานภาพทางสังคม เด็กวัยรุ่นฉลองปีใหม่ตั้งแต่กลางวันยันสว่างก็นับว่าอยู่ในขั้นพอดี ไม่มีปัญหา แต่ผู้สูงวัยหากทำเยี่ยงเด็กวัยรุ่น ถือว่าเกินพอดี เพราะอาจจะวูบเอาได้
การดำเนินชีวิตโดยขาดความพอดี จะก่อให้ปัญหา ไม่ช้าก็เร็ว การกระทำหลายๆอย่าง ที่เราคิดว่าไม่น่าจะมีอะไร แต่หากไม่พอดีจะทำให้เกิดปัญหาได้
การพักผ่อน เป็นเรื่องที่ดี ยิ่งสูงวัยยิ่งควรพักผ่อนให้มาก เพราะครูเคยสอนว่าการพักผ่อนทำให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับดีขึ้น แต่หากพักผ่อนน้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง ในทำนองเดียวกันหากพักผ่อนมากเกินไป จะดูเป็นคนขี้เกียจ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับคนอื่น และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน
การใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบ เป็นสิ่งที่ดี ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย เป็นความเรียบง่ายของชีวิต แต่หากปลีกวิเวกจนเกินพอดี ไม่ยอมพบปะสังสรรค์กับคนรอบข้าง เพื่อนฝูง ก็จะกลายเป็นคนเก็บตัว คนอื่นยากที่จะเข้าถึง อาจนำไปสู่ชีวิตที่ห่อเหี่ยวเงียบเหงา แต่คนที่อยู่เงียบๆไม่เป็น ก็สร้างความวุ่นวายได้ ก่อให้เกิดปัญหาพอกัน
ความสนุกสนาน เป็นสิ่งที่ใครๆปรารถนา เพราะก่อให้เกิดความสุขทั้งกับตนเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนคนที่ไม่มีอารมณ์ขัน หัวเราะไม่เป็น จะสร้างความตึงเครียดให้กับตนเองและครอบครัว ในขณะเดียวกัน หากสนุกสนานมากเกินไป จะกลายเป็นคนที่ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ก่อให้เกิดความรำคาญและสร้างความเจ็บปวดให้กับคนอื่นได้
ความสุขอันเกิดจาการสัมผัส อันได้แก่ การกอด จูบ ลูบ คลำ การนวด และการถูกนวด ก็เป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้มีชีวิตชีวา แต่หากมากเกินไป ก็จะกลายเป็นผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในโลกีย์วิสัย
การติดในรสชาติของอาหาร เป็นเรื่องที่ดีทำให้เจริญอาหาร การเบื่ออาหารแสดงถึงความผิดปกติไม่ทางกายก็จิตใจ แต่หากติดในรสอาหารมากเกินไป จะกลายเป็นตะกละ แม้จะไม่ถึงขั้นตะกละ ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เกิดภาวะอึดอัดได้ การติดในรสชาติของอาหาร อาจนำไปสู่การจุกจิกจู้จี้ในเรื่องการกินอยู่ และอาจเกิดโทษหากติดในรสชาติอาหารที่ไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ
นักวิทยาศาสตร์การอาหารบอกว่า การกินอาหารที่หลากหลายเป็นสิ่งดี แม้รสชาติจะไม่ถูกปาก แต่ได้สารอาหารครบถ้วน
การนับถือตนเอง ซึ่งก็นับเป็นเรื่องที่ดี ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีค่า ผู้ที่นับถือตนเองน้อยเกินไป จะรู้สึกเป็นคนไร้ค่า เป็นคนใจน้อย แต่หากนับถือตนเองมากเกินไป จะกลายเป็นคนถือดี หยิ่ง ฟังคนอื่นไม่เป็น
ความระมัดระวังรอบคอบ ทำให้ไม่เกิดความผิดพลาด คนที่ไม่รู้จักระมัดระวังเป็นคนสะเพร่า ซุ่มซ่าม แต่หากระมัดระวังเกินเหตุ จะกลายเป็นความวิตกกังวล ซึ่งเป็นความกลัวชนิดหนึ่ง ที่จะนำไปสู่อาการทางประสาทได้ นอกจากนั้น การระมัดระวังมากเกินเป็น อาจทำให้เป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ เป็นคนสมบูรณ์แบบ ผิดเล็กผิดหน่อยก็ไม่ได้
ความรัก ฝรั่งบอกว่าความรักทำให้โลกหมุน คนที่มีความรัก โลกจะสดใสเป็นสีชมพู คนที่รักใครไม่เป็นจะรักตนเองไม่เป็นเช่นกัน แต่หากรักมากเกินไปจะเกิดอาการปกป้องเกินเหตุ ความเมตตากรุณาก็เป็นเรื่องที่ดี มีน้อยก็กลายเป็นคนใจร้าย แต่หากมากเกินไป จะทำให้คนรอบข้างมองไม่เห็นความสำคัญของตน
การถือหลักความพอดี จะทำให้การดำเนินชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบราบรื่น เป็นเรื่ิองจำเป็นสำำหรับคนทุกเพศทุกวัย
อย่างไรก็ตาม หลักความพอดี ไม่อาจใช้กับการกระทำที่ทุจริต ไม่ว่าจะทุจริตมากหรือน้อย ก็ไม่ควรทำ เพราะจะนำพาชีวิตไปสู่ความหายนะไม่ช้าก็เร็ว
-------------------------------------------------
สาระคิด
จงให้ความหวังแก่ตัวเอง แต่อย่ามองข้ามความจริง
Sir Winston Churchill
---------------------------------------
ความพอดีนั้น จะแตกต่างไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล แตกต่างไปตาม อายุ สุขภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจ และสถานภาพทางสังคม เด็กวัยรุ่นฉลองปีใหม่ตั้งแต่กลางวันยันสว่างก็นับว่าอยู่ในขั้นพอดี ไม่มีปัญหา แต่ผู้สูงวัยหากทำเยี่ยงเด็กวัยรุ่น ถือว่าเกินพอดี เพราะอาจจะวูบเอาได้
การดำเนินชีวิตโดยขาดความพอดี จะก่อให้ปัญหา ไม่ช้าก็เร็ว การกระทำหลายๆอย่าง ที่เราคิดว่าไม่น่าจะมีอะไร แต่หากไม่พอดีจะทำให้เกิดปัญหาได้
การพักผ่อน เป็นเรื่องที่ดี ยิ่งสูงวัยยิ่งควรพักผ่อนให้มาก เพราะครูเคยสอนว่าการพักผ่อนทำให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับดีขึ้น แต่หากพักผ่อนน้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง ในทำนองเดียวกันหากพักผ่อนมากเกินไป จะดูเป็นคนขี้เกียจ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับคนอื่น และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน
การใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบ เป็นสิ่งที่ดี ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย เป็นความเรียบง่ายของชีวิต แต่หากปลีกวิเวกจนเกินพอดี ไม่ยอมพบปะสังสรรค์กับคนรอบข้าง เพื่อนฝูง ก็จะกลายเป็นคนเก็บตัว คนอื่นยากที่จะเข้าถึง อาจนำไปสู่ชีวิตที่ห่อเหี่ยวเงียบเหงา แต่คนที่อยู่เงียบๆไม่เป็น ก็สร้างความวุ่นวายได้ ก่อให้เกิดปัญหาพอกัน
ความสนุกสนาน เป็นสิ่งที่ใครๆปรารถนา เพราะก่อให้เกิดความสุขทั้งกับตนเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนคนที่ไม่มีอารมณ์ขัน หัวเราะไม่เป็น จะสร้างความตึงเครียดให้กับตนเองและครอบครัว ในขณะเดียวกัน หากสนุกสนานมากเกินไป จะกลายเป็นคนที่ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ก่อให้เกิดความรำคาญและสร้างความเจ็บปวดให้กับคนอื่นได้
ความสุขอันเกิดจาการสัมผัส อันได้แก่ การกอด จูบ ลูบ คลำ การนวด และการถูกนวด ก็เป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้มีชีวิตชีวา แต่หากมากเกินไป ก็จะกลายเป็นผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในโลกีย์วิสัย
การติดในรสชาติของอาหาร เป็นเรื่องที่ดีทำให้เจริญอาหาร การเบื่ออาหารแสดงถึงความผิดปกติไม่ทางกายก็จิตใจ แต่หากติดในรสอาหารมากเกินไป จะกลายเป็นตะกละ แม้จะไม่ถึงขั้นตะกละ ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เกิดภาวะอึดอัดได้ การติดในรสชาติของอาหาร อาจนำไปสู่การจุกจิกจู้จี้ในเรื่องการกินอยู่ และอาจเกิดโทษหากติดในรสชาติอาหารที่ไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ
นักวิทยาศาสตร์การอาหารบอกว่า การกินอาหารที่หลากหลายเป็นสิ่งดี แม้รสชาติจะไม่ถูกปาก แต่ได้สารอาหารครบถ้วน
การนับถือตนเอง ซึ่งก็นับเป็นเรื่องที่ดี ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีค่า ผู้ที่นับถือตนเองน้อยเกินไป จะรู้สึกเป็นคนไร้ค่า เป็นคนใจน้อย แต่หากนับถือตนเองมากเกินไป จะกลายเป็นคนถือดี หยิ่ง ฟังคนอื่นไม่เป็น
ความระมัดระวังรอบคอบ ทำให้ไม่เกิดความผิดพลาด คนที่ไม่รู้จักระมัดระวังเป็นคนสะเพร่า ซุ่มซ่าม แต่หากระมัดระวังเกินเหตุ จะกลายเป็นความวิตกกังวล ซึ่งเป็นความกลัวชนิดหนึ่ง ที่จะนำไปสู่อาการทางประสาทได้ นอกจากนั้น การระมัดระวังมากเกินเป็น อาจทำให้เป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ เป็นคนสมบูรณ์แบบ ผิดเล็กผิดหน่อยก็ไม่ได้
ความรัก ฝรั่งบอกว่าความรักทำให้โลกหมุน คนที่มีความรัก โลกจะสดใสเป็นสีชมพู คนที่รักใครไม่เป็นจะรักตนเองไม่เป็นเช่นกัน แต่หากรักมากเกินไปจะเกิดอาการปกป้องเกินเหตุ ความเมตตากรุณาก็เป็นเรื่องที่ดี มีน้อยก็กลายเป็นคนใจร้าย แต่หากมากเกินไป จะทำให้คนรอบข้างมองไม่เห็นความสำคัญของตน
การถือหลักความพอดี จะทำให้การดำเนินชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบราบรื่น เป็นเรื่ิองจำเป็นสำำหรับคนทุกเพศทุกวัย
อย่างไรก็ตาม หลักความพอดี ไม่อาจใช้กับการกระทำที่ทุจริต ไม่ว่าจะทุจริตมากหรือน้อย ก็ไม่ควรทำ เพราะจะนำพาชีวิตไปสู่ความหายนะไม่ช้าก็เร็ว
-------------------------------------------------
สาระคิด
จงให้ความหวังแก่ตัวเอง แต่อย่ามองข้ามความจริง
Sir Winston Churchill
---------------------------------------
วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556
การบริหารจัดการกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
การบริหารจัดการในภาครัฐ มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น การบริหารจัดการที่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้ จะต้องเป็นการบริหารจัดการที่ใช้หลักธรรมาภิบาล เป็นการบริหารจัดการที่ใช้หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นหลักที่ใช้ในการบริหารจัดการอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก สำหรับการแก้ไขปรับปรุงไปสู่การบริหารที่ดีตามหลักธรรมมาภิบาลนั้น สามารถดำเนินการดังนี้
การบริหารจัดการ จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดของการบริหารจัดการ ในลักษณะต่อไปนี้ กล่าวคือ
1. ปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้ประชาชนทั่วไป มีสิทธิตรวจสอบการบริหารได้มากขึ้น และเป็นการตรวจสอบที่มีได้ทุกระดับ โดยให้ข้าราชการหรือนักการเมืองผู้มีอำนาจทำงานโดยรับผิดชอบต่อประชาชน ประชาชนสามรถตรวจสอบได้ การตรวจสอบของประชาชนจะช่วยแก้ปัญหาได้มากขึ้น
2. ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานในการบริการประชาชนให้น้อยลง มีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
3. สร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ให้ถูกรังแกและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ส่วนนักการเมืองผู้มีอำนาจที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็ได้รับการยกย่ิองสรรเสริญจากสังคมจนเป็นที่ประจักษ์
4. การเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งเป็นไปตามหลักคุณธรรม เลิกระบบพวกพ้องญาติมิตร ตลอดจนระบบอุปถัมภ์ ให้คนดีมีความสามารถ ได้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่
กฎหมาย กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญของการบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิผล ใช้ในการควบคุมความประพฤติ ของข้าราชการและนักการเมืองผู้มีอำนาจ ให้ทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและการพัฒนาประเทศ ในการใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น จะต้องกระทำในลักษณะต่อไปนี้
1. ใช้กฎหมายอย่างสม่ำเสมอและทั่วหน้ากัน ทำให้ข้าราชการและนักการเมืองผู้มีอำนาจเคยชินกับการทำงาน ที่ยึดหลักกฎหมาย กลายเป็นนิสัยการเคารพกฎหมาย ปฏิบัติงานโดยยึดกฎหมายอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกัน หากไม่มีการใช้กฎหมายอย่างสม่ำเสมอ เลือกปฏิบัติ ใช้เฉพาะกับบางกลุ่มบางคน ทำให้เกิดอภิสิทธิ์ เกิดการเอาอย่าง และพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมาย ในที่สุดกฎหมายก็ไม่เป็นกฎหมายอีกต่อไป
2. กฎหมายที่เกี่ยวกับกับการปราบปรามคอร์รัปชั่น จะต้องมีบทลงโทษที่รุนแรง และไม่มีอายุความ โดยถือว่าการคอร์รัปชั่นเป็นการกระทำที่บ่อนทำลายประเทศ ทำลายสถาบันต่างๆทางสังคม
3. กระบวนการดำเนินการตามกฎหมาย มีความรัดกุมและง่ายต่อการปฏิบัติ ที่จะทำให้คนทำผิดได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว อาจมีศาลสถิตย์ยุติธรรมที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะ เป็นศาลที่มีวิธีการและการดำเนินการพิจารณาแตกต่างไปจากศาลสถิตย์ยุติธรรมอื่นๆ
การเมือง อำนาจทางการเมืองมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น อาจกล่าวได้ว่าถ้านักการเมืองเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่คอร์รัปชั่น การคอร์รัปชั่นจะมีน้อยหรือไม่มีเลย การเมืองที่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น จะต้อง
1. มีความมั่นคงทางการเมือง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อยเกินไป และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ความมั่นคงทางการเมืองทำให้ประชาชนและข้าราชการเข้าใจในหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย เข้าใจในสิทธิและหน้าที่ และพร้อมที่จะรักษาสิทธิและทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ความมั่นคงทางการเมืองทำให้นักการเมืองผู้มีอำนาจและข้าราชการมุ่งมั่นที่จะทำงานโดยไม่รอการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เป็นตามกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งแน่นอนว่าประชาธิปไตยนั้น สามาถตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานทั้งของนักการเมืองและข้าราชการได้
2. มีการเลือกตั้งที่สุจริต การทุจริตในการเลือกตั้ง นำไปสู่การทุจริตในการบริหารราชการแผ่นดิน นักการเมืองที่ได้อำนาจมาด้วยการทุจริตฉ้อฉล ด้วยการซื้อเสียง เกือบทั้งหมดจะคอร์รัปชั่นเพื่อถอนทุนคืน อาจจะทำด้วยตนเอง หรือผ่านลูกน้องบริวาร
3. นัการเมืองทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ในการทำงานใช้อำนาจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพราะถ้านักการเมืองไม่คอร์รัปชั่น ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาจะถือเอาเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการลดลงด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงแนวทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ส่วนจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชน ว่ามีความจริงจังในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น มากน้อยเพียงใด
----------------------------------------------
สาระคิด
ผู้นำที่ดีต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ตาม
----------------------------
การบริหารจัดการ จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดของการบริหารจัดการ ในลักษณะต่อไปนี้ กล่าวคือ
1. ปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้ประชาชนทั่วไป มีสิทธิตรวจสอบการบริหารได้มากขึ้น และเป็นการตรวจสอบที่มีได้ทุกระดับ โดยให้ข้าราชการหรือนักการเมืองผู้มีอำนาจทำงานโดยรับผิดชอบต่อประชาชน ประชาชนสามรถตรวจสอบได้ การตรวจสอบของประชาชนจะช่วยแก้ปัญหาได้มากขึ้น
2. ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานในการบริการประชาชนให้น้อยลง มีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
3. สร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ให้ถูกรังแกและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ส่วนนักการเมืองผู้มีอำนาจที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็ได้รับการยกย่ิองสรรเสริญจากสังคมจนเป็นที่ประจักษ์
4. การเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งเป็นไปตามหลักคุณธรรม เลิกระบบพวกพ้องญาติมิตร ตลอดจนระบบอุปถัมภ์ ให้คนดีมีความสามารถ ได้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่
กฎหมาย กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญของการบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิผล ใช้ในการควบคุมความประพฤติ ของข้าราชการและนักการเมืองผู้มีอำนาจ ให้ทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและการพัฒนาประเทศ ในการใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น จะต้องกระทำในลักษณะต่อไปนี้
1. ใช้กฎหมายอย่างสม่ำเสมอและทั่วหน้ากัน ทำให้ข้าราชการและนักการเมืองผู้มีอำนาจเคยชินกับการทำงาน ที่ยึดหลักกฎหมาย กลายเป็นนิสัยการเคารพกฎหมาย ปฏิบัติงานโดยยึดกฎหมายอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกัน หากไม่มีการใช้กฎหมายอย่างสม่ำเสมอ เลือกปฏิบัติ ใช้เฉพาะกับบางกลุ่มบางคน ทำให้เกิดอภิสิทธิ์ เกิดการเอาอย่าง และพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมาย ในที่สุดกฎหมายก็ไม่เป็นกฎหมายอีกต่อไป
2. กฎหมายที่เกี่ยวกับกับการปราบปรามคอร์รัปชั่น จะต้องมีบทลงโทษที่รุนแรง และไม่มีอายุความ โดยถือว่าการคอร์รัปชั่นเป็นการกระทำที่บ่อนทำลายประเทศ ทำลายสถาบันต่างๆทางสังคม
3. กระบวนการดำเนินการตามกฎหมาย มีความรัดกุมและง่ายต่อการปฏิบัติ ที่จะทำให้คนทำผิดได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว อาจมีศาลสถิตย์ยุติธรรมที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะ เป็นศาลที่มีวิธีการและการดำเนินการพิจารณาแตกต่างไปจากศาลสถิตย์ยุติธรรมอื่นๆ
การเมือง อำนาจทางการเมืองมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น อาจกล่าวได้ว่าถ้านักการเมืองเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่คอร์รัปชั่น การคอร์รัปชั่นจะมีน้อยหรือไม่มีเลย การเมืองที่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น จะต้อง
1. มีความมั่นคงทางการเมือง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อยเกินไป และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ความมั่นคงทางการเมืองทำให้ประชาชนและข้าราชการเข้าใจในหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย เข้าใจในสิทธิและหน้าที่ และพร้อมที่จะรักษาสิทธิและทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ความมั่นคงทางการเมืองทำให้นักการเมืองผู้มีอำนาจและข้าราชการมุ่งมั่นที่จะทำงานโดยไม่รอการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เป็นตามกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งแน่นอนว่าประชาธิปไตยนั้น สามาถตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานทั้งของนักการเมืองและข้าราชการได้
2. มีการเลือกตั้งที่สุจริต การทุจริตในการเลือกตั้ง นำไปสู่การทุจริตในการบริหารราชการแผ่นดิน นักการเมืองที่ได้อำนาจมาด้วยการทุจริตฉ้อฉล ด้วยการซื้อเสียง เกือบทั้งหมดจะคอร์รัปชั่นเพื่อถอนทุนคืน อาจจะทำด้วยตนเอง หรือผ่านลูกน้องบริวาร
3. นัการเมืองทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ในการทำงานใช้อำนาจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพราะถ้านักการเมืองไม่คอร์รัปชั่น ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาจะถือเอาเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการลดลงด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงแนวทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ส่วนจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชน ว่ามีความจริงจังในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น มากน้อยเพียงใด
----------------------------------------------
สาระคิด
ผู้นำที่ดีต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ตาม
----------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556
การศึกษาอบรมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่ร้ายแรง ที่ทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆำไม่สามารถก้าวหน้าไปได้อย่างอย่างมีประสิทธิผล หรือในการพัฒนาบางเรื่องทำให้เกิดความถดถอยอันเกิดจาการคอร์รัปชั่นก็มีให้เห็นในสังคมไทย การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นจึงต้องใช้ทั้งวิธีป้องกันและปราบปรามอย่างแท้จริง ต้องหาทางแก้ที่สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการคอร์รัปชั่น จึงจะทำให้การคอร์รัปชั่นเบาบางหรือหมดไปจากสังคมไทยได้
แนวทางแรกที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น คือการศึกษาอบรม ซึ่งเป็นกระบวนการทางสังคม ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้าง และถ่ายทอดสิ่งที่มีคุณค่า ให้กับสมาชิกในสังคม เพื่อให้เป็นสมาชิกที่สังคมพึงปรารถนา
สังคมต้องการสมาชิกแบบไหน กระบวนการทางการศึกษาอบรม ก็จะต้องพัฒนาให้สมาชิกในสังคมมีลักษณะแบบนั้น หากจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะต้องทำให้คนในสังคมไม่มีลักษณะที่เอื้อต่อการคอร์รัปชั่น
เรามักเข้าใจว่าการศึกษาอบรมเป็นเรื่องของสถาบันการศึกษา แต่ความจริงแล้วครอบครัวมีบทบาทในการสร้างลักษณะต่างๆได้ไม่แพ้สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะทางจริยธรรมและคุณธรรม ฉะนั้นการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นจะต้องเริ่มให้การศึกษาตั้งแต่ครอบครัว จนถึงการศึกษาในระบบ
การศึกษาอบรมที่สร้างคนในสังคม ให้มีลักษณะที่ไม่เอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น ควรอบรมสั่งสอนในลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ คคือมีความรู้เพียงพอเพียงพอ ที่จะประกอบอาชีพเพื่อช่วยเหลือตนเอง เพราะเมื่อทุกคนมีอาชีพช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ภาระที่เคยตกอยู่กับคนหนึ่ีงคนใดก็เฉลี่ยกันไป ข้าราชการที่เคยรับภาระเลี้ยงดูคนในครอบครัวก็จะหมดภาระไป การคิดหาทางคอร์รัปชั่นเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวก็จะหมดไปหรือเบาบางลงได้
2. เปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยม และลักษณะประจำชาติบางประการเสียใหม่ ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ค่านิยม และลักษณะบางประการในสังคม เช่น การยกย่องความดีของคนจากฐานะทางการเงิน ความเชื่อว่างานที่ใช้แรงงานเป็นงานต่ำ การไม่รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การประหยัดเงินที่หามาได้ไม่เป็นสิ่งจะต้องทำ ฯลฯ ในขณะเดียวกันจะต้องสร้างความเชื่อที่ว่าการคอร์รัปชั่นเป็นความชั่วร้ายที่บ่อนทำลายประเทศชาติ การคอร์รัปชั่นเป็นอาชญากรรมที่เลวร้ายยิ่งกว่าอาชญากรรมใดๆ ที่จะต้องกำจัดให้หมดไป ตัดสินความดีของคนจากคุณธรรมที่เขาประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องไม่ยกย่องบุคคลที่สร้างฐานะของตนด้วยวิธีการอันทุจริตฉ้อฉล ในการทำงานจะต้องเชื่อว่า งานที่สุจริตทุกชนิดเป็นงานที่มีเกียรติ อย่ามุ่งแต่เลือกงานเบา งานในสำนักงาน การเรียนการสอน จะต้องสอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ อย่าให้เป็นคนที่เชื่อตามคนอื่นง่ายๆ ชักจูงได้ง่ายๆ
3. สร้างคุณธรรมและจริธรรมขึ้นมาใหม่ เป็นคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม โดยเฉพาะจริธรรมด้านความซื่อสัตยสุจริต ให้เป็นแนวปฏิบัติของคนในสังคม ที่จะก่อให้เกิดระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่นำไปสู่การใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน
4. สร้างความเป็นพลเมืองที่ดี เป็นพลเมืองที่เข้าใจว่าตนเองในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม มีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างไร ไม่ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองหรือบุคคลอื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าตนเองมีส่วนในการป้องกันและปราบรามการ
ทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมได้
การเสริมสร้างลักษณะดังกล่าวนี้ ครอบครัวจะต้องไม่บ่มเพาะนิสัยทุจจริต สถาบันการศึกษาจะต้องไม่เป็นแหล่งการเรียนรู้ วิธีการทุจริตฉ้อฉลเพื่อความสำเร็จส่วนตน หากทำได้เชื่อว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นจะหมดไปจากสังคมไทยแน่นอน
---------------------------------------------
สาระคิด
เผชิญกับอันตรายครั้งเดียว ดีกว่าต้องกลัวอย่างไม่สิ้นสุด
นิรนาม
-------------------------------
แนวทางแรกที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น คือการศึกษาอบรม ซึ่งเป็นกระบวนการทางสังคม ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้าง และถ่ายทอดสิ่งที่มีคุณค่า ให้กับสมาชิกในสังคม เพื่อให้เป็นสมาชิกที่สังคมพึงปรารถนา
สังคมต้องการสมาชิกแบบไหน กระบวนการทางการศึกษาอบรม ก็จะต้องพัฒนาให้สมาชิกในสังคมมีลักษณะแบบนั้น หากจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะต้องทำให้คนในสังคมไม่มีลักษณะที่เอื้อต่อการคอร์รัปชั่น
เรามักเข้าใจว่าการศึกษาอบรมเป็นเรื่องของสถาบันการศึกษา แต่ความจริงแล้วครอบครัวมีบทบาทในการสร้างลักษณะต่างๆได้ไม่แพ้สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะทางจริยธรรมและคุณธรรม ฉะนั้นการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นจะต้องเริ่มให้การศึกษาตั้งแต่ครอบครัว จนถึงการศึกษาในระบบ
การศึกษาอบรมที่สร้างคนในสังคม ให้มีลักษณะที่ไม่เอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น ควรอบรมสั่งสอนในลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ คคือมีความรู้เพียงพอเพียงพอ ที่จะประกอบอาชีพเพื่อช่วยเหลือตนเอง เพราะเมื่อทุกคนมีอาชีพช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ภาระที่เคยตกอยู่กับคนหนึ่ีงคนใดก็เฉลี่ยกันไป ข้าราชการที่เคยรับภาระเลี้ยงดูคนในครอบครัวก็จะหมดภาระไป การคิดหาทางคอร์รัปชั่นเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวก็จะหมดไปหรือเบาบางลงได้
2. เปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยม และลักษณะประจำชาติบางประการเสียใหม่ ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ค่านิยม และลักษณะบางประการในสังคม เช่น การยกย่องความดีของคนจากฐานะทางการเงิน ความเชื่อว่างานที่ใช้แรงงานเป็นงานต่ำ การไม่รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การประหยัดเงินที่หามาได้ไม่เป็นสิ่งจะต้องทำ ฯลฯ ในขณะเดียวกันจะต้องสร้างความเชื่อที่ว่าการคอร์รัปชั่นเป็นความชั่วร้ายที่บ่อนทำลายประเทศชาติ การคอร์รัปชั่นเป็นอาชญากรรมที่เลวร้ายยิ่งกว่าอาชญากรรมใดๆ ที่จะต้องกำจัดให้หมดไป ตัดสินความดีของคนจากคุณธรรมที่เขาประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องไม่ยกย่องบุคคลที่สร้างฐานะของตนด้วยวิธีการอันทุจริตฉ้อฉล ในการทำงานจะต้องเชื่อว่า งานที่สุจริตทุกชนิดเป็นงานที่มีเกียรติ อย่ามุ่งแต่เลือกงานเบา งานในสำนักงาน การเรียนการสอน จะต้องสอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ อย่าให้เป็นคนที่เชื่อตามคนอื่นง่ายๆ ชักจูงได้ง่ายๆ
3. สร้างคุณธรรมและจริธรรมขึ้นมาใหม่ เป็นคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม โดยเฉพาะจริธรรมด้านความซื่อสัตยสุจริต ให้เป็นแนวปฏิบัติของคนในสังคม ที่จะก่อให้เกิดระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่นำไปสู่การใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน
4. สร้างความเป็นพลเมืองที่ดี เป็นพลเมืองที่เข้าใจว่าตนเองในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม มีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างไร ไม่ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองหรือบุคคลอื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าตนเองมีส่วนในการป้องกันและปราบรามการ
ทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมได้
การเสริมสร้างลักษณะดังกล่าวนี้ ครอบครัวจะต้องไม่บ่มเพาะนิสัยทุจจริต สถาบันการศึกษาจะต้องไม่เป็นแหล่งการเรียนรู้ วิธีการทุจริตฉ้อฉลเพื่อความสำเร็จส่วนตน หากทำได้เชื่อว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นจะหมดไปจากสังคมไทยแน่นอน
---------------------------------------------
สาระคิด
เผชิญกับอันตรายครั้งเดียว ดีกว่าต้องกลัวอย่างไม่สิ้นสุด
นิรนาม
-------------------------------
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คอร์รัปชั่นในสังคมไทย:อุปสรรคในการแก้ปัญหา
ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ด้วยเหตุนี้ การแก้ปัญหาอาจจะต้องเผชิญกับอุปสรรคดังต่อไปนี้
ความเชื่อและค่านิยมในสังคม มีคำพูดเป็นที่ประจักษ์ในสังคมทั่วไปว่า เป็นข้าราชการถ้าไม่โกงก็ไม่รวย ใครทำงานตามอุดมคติกลายเป็นคนโง่ ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสข้าราชการส่วนมากจึงคอร์รัปชั่น เพื่อจะได้เป็นคนมีฐานะเป็นที่ยอมรับในสังคม สังเกตได้จากคนจำนวนมากที่อยากที่จะเข้าทำงานเป็น ตำรวจ ข้าราชการ กรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมสรรพากร และ กรมศุลกากร ทั้งที่ ทำงานในกรมอื่นก็มีโอกาสก้าวหน้าในวงราชการเท่าเทียมกันหรือก้าวหน้าได้เร็วกว่าด้วยซ้ำไป และหากเป็นนักการเมือง มีโอกาสได้เป็นรัฐมนตรี ก็เลือกที่จะเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระะทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ หรือ กระทรวงการคลัง ซึ่งความเชื่อและค่านิยมที่มุ่งความร่ำรวย โดยขาดความสำนึกชั่วดีในลักษณะดังกล่าว เป็นอุปรรคอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
การศึกษา การเรียนการสอนในโรงเรียน ส่วนใหญ่ครูสอนให้จำ ไม่สอนให้รู้จักคิด หาเหตุผลด้วยตนเอง ทำให้คนที่จบการศึกษา มองเหตุการณ์ต่างด้วยสายตาที่สั้น ชักจูงง่าย เข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม เข้าใจสิ่งที่เห็นด้วยตามากกว่าที่จะเห็นจากความคิด เห็นเรื่องปัจุจบันมากกว่าอนาคต เห็นใครร่ำรวยแม้จากการคอร์รัปชั่นก็ชื่นชมยินดี ว่าเป็นคนมีบุญมีวาสนา ไม่ได้เห็นว่าการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่ต้องละอาย จับได้ไล่ทันก็แก้ตัวไปน้ำขุ่นๆว่าโดนกลั่นแกล้ง สุดท้ายเมื่อไม่มีทางออกที่ดีกว่า ก็รับอย่างหน้าชื่นตาบานว่าใครๆก็คอร์รัปชั่น
ลักษณะทางสังคม สังคมไทยเป็นสังคมพรรคพวก เป็นสังคมเครือญาติ เมื่อทำผิดก็ช่วยเหลือกัน เพื่อให้หลุดพ้นจากโทษที่จะได้รับ จนเป็นที่สังเกตว่าใครก็ตามที่ประกาศว่า ทำเพื่อชาติเพื่อประชาชนบ่อยๆ จนติดปาก มักจะคอร์รัปชั่นมากที่สุด และสามารถอยู่ในสังคมอย่างผู้มีเกียรติ ใครๆก็ยกย่อง จะเห็นว่าในบางจังหวัดศาลได้ตัดสินแล้วว่าพ่อมีความผิดฐานคอร์รัปชั่น แต่บรรดาลูกๆ ตลอดวงศาคณาญาติ ต่างก็มีตำแหน่งใหญ่โต ได้รับการยอมรับจากประชาชนให้เป็นนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีบางตระกูลถูกกล่าวหาว่าโคตรโกง หรือโกงทั้งโคตร แต่ไม่เห็นคนในตระกูลนั้นฟ้องร้องหรือแสดงความเดือดเนื้อร้อนใจแต่ประการใด กลับมีคนกลุ่มหนึ่งออกมาปกป้องด้วยซ้าไป แสดงว่าการคอร์ชั่นในสังคมไทยเป็นเรื่องที่สังคมรับได้ ใครโดนจับได้ถือว่าเป็นกรรมของผู้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่สังคมจะต้องตั้งข้อรังเกียจ
ผู้มีอำนาจทางการเมือง นักการเมืองไทยส่วนใหญ่มักถูกครหาว่า มีอำนาจทางการเมืองขึ้นมาได้ เพราะการทุจริตในการเลือกตั้ง มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าคนที่ได้อำนาจทางการเมืองด้วยการกระทำที่ทุจริต จะต้องมีการถอนทุนคืนด้วยการคอร์รัปชั่น จึงไม่แปลกที่นักการเมืองหลายคนที่ได้รับการเลือกตั้งไม่กี่สมัย มีฐานะร่ำรวยขึ้นเห็นได้ชัดเจน แน่นอนว่าเมื่อนักการเมืองผู้มีอำนาจคอร์รัปชั่นเสียเอง การปราบปรามคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือถ้าจะปราบก็ปราบฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าไปเจอพรรคพวกคอร์รัปชั่น ก็มีการช่วยเหลือกันด้วยวิธีการต่างๆ จนหลุดพ้นคดี
อุปสรรคดังกล่าวนี้ หากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง ก็จะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย
-------------------------------------------------
สาระคิด
นักการเมืองคำนึงถึงแต่การเลือกตั้งครั้งต่อไป
รัฐบุรุษคำนึงถึงผลกระทบต่อคนรุ่นต่อไป
Clark
-------------------------------
ความเชื่อและค่านิยมในสังคม มีคำพูดเป็นที่ประจักษ์ในสังคมทั่วไปว่า เป็นข้าราชการถ้าไม่โกงก็ไม่รวย ใครทำงานตามอุดมคติกลายเป็นคนโง่ ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสข้าราชการส่วนมากจึงคอร์รัปชั่น เพื่อจะได้เป็นคนมีฐานะเป็นที่ยอมรับในสังคม สังเกตได้จากคนจำนวนมากที่อยากที่จะเข้าทำงานเป็น ตำรวจ ข้าราชการ กรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมสรรพากร และ กรมศุลกากร ทั้งที่ ทำงานในกรมอื่นก็มีโอกาสก้าวหน้าในวงราชการเท่าเทียมกันหรือก้าวหน้าได้เร็วกว่าด้วยซ้ำไป และหากเป็นนักการเมือง มีโอกาสได้เป็นรัฐมนตรี ก็เลือกที่จะเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระะทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ หรือ กระทรวงการคลัง ซึ่งความเชื่อและค่านิยมที่มุ่งความร่ำรวย โดยขาดความสำนึกชั่วดีในลักษณะดังกล่าว เป็นอุปรรคอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
การศึกษา การเรียนการสอนในโรงเรียน ส่วนใหญ่ครูสอนให้จำ ไม่สอนให้รู้จักคิด หาเหตุผลด้วยตนเอง ทำให้คนที่จบการศึกษา มองเหตุการณ์ต่างด้วยสายตาที่สั้น ชักจูงง่าย เข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม เข้าใจสิ่งที่เห็นด้วยตามากกว่าที่จะเห็นจากความคิด เห็นเรื่องปัจุจบันมากกว่าอนาคต เห็นใครร่ำรวยแม้จากการคอร์รัปชั่นก็ชื่นชมยินดี ว่าเป็นคนมีบุญมีวาสนา ไม่ได้เห็นว่าการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่ต้องละอาย จับได้ไล่ทันก็แก้ตัวไปน้ำขุ่นๆว่าโดนกลั่นแกล้ง สุดท้ายเมื่อไม่มีทางออกที่ดีกว่า ก็รับอย่างหน้าชื่นตาบานว่าใครๆก็คอร์รัปชั่น
ลักษณะทางสังคม สังคมไทยเป็นสังคมพรรคพวก เป็นสังคมเครือญาติ เมื่อทำผิดก็ช่วยเหลือกัน เพื่อให้หลุดพ้นจากโทษที่จะได้รับ จนเป็นที่สังเกตว่าใครก็ตามที่ประกาศว่า ทำเพื่อชาติเพื่อประชาชนบ่อยๆ จนติดปาก มักจะคอร์รัปชั่นมากที่สุด และสามารถอยู่ในสังคมอย่างผู้มีเกียรติ ใครๆก็ยกย่อง จะเห็นว่าในบางจังหวัดศาลได้ตัดสินแล้วว่าพ่อมีความผิดฐานคอร์รัปชั่น แต่บรรดาลูกๆ ตลอดวงศาคณาญาติ ต่างก็มีตำแหน่งใหญ่โต ได้รับการยอมรับจากประชาชนให้เป็นนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีบางตระกูลถูกกล่าวหาว่าโคตรโกง หรือโกงทั้งโคตร แต่ไม่เห็นคนในตระกูลนั้นฟ้องร้องหรือแสดงความเดือดเนื้อร้อนใจแต่ประการใด กลับมีคนกลุ่มหนึ่งออกมาปกป้องด้วยซ้าไป แสดงว่าการคอร์ชั่นในสังคมไทยเป็นเรื่องที่สังคมรับได้ ใครโดนจับได้ถือว่าเป็นกรรมของผู้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่สังคมจะต้องตั้งข้อรังเกียจ
ผู้มีอำนาจทางการเมือง นักการเมืองไทยส่วนใหญ่มักถูกครหาว่า มีอำนาจทางการเมืองขึ้นมาได้ เพราะการทุจริตในการเลือกตั้ง มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าคนที่ได้อำนาจทางการเมืองด้วยการกระทำที่ทุจริต จะต้องมีการถอนทุนคืนด้วยการคอร์รัปชั่น จึงไม่แปลกที่นักการเมืองหลายคนที่ได้รับการเลือกตั้งไม่กี่สมัย มีฐานะร่ำรวยขึ้นเห็นได้ชัดเจน แน่นอนว่าเมื่อนักการเมืองผู้มีอำนาจคอร์รัปชั่นเสียเอง การปราบปรามคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือถ้าจะปราบก็ปราบฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าไปเจอพรรคพวกคอร์รัปชั่น ก็มีการช่วยเหลือกันด้วยวิธีการต่างๆ จนหลุดพ้นคดี
อุปสรรคดังกล่าวนี้ หากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง ก็จะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย
-------------------------------------------------
สาระคิด
นักการเมืองคำนึงถึงแต่การเลือกตั้งครั้งต่อไป
รัฐบุรุษคำนึงถึงผลกระทบต่อคนรุ่นต่อไป
Clark
-------------------------------
วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คอร์รัปชั่นในสังคมไทย:การแก้ปัญหา
ปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศไทย เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน นับวันจะซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวงการและทุกระดับของสังคม
หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและมีประสิทธิผลแล้ว แน่นอนเหลือเกินว่า จะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาอื่น จนไม่สามารถจะแก้ไขได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาในครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง
การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น จึงต้องเร่งรีบแก้ปัญหาโดยด่วน ก่อนที่คอร์รัปชั่นจะกลายเป็นเอกลักษณ์ เป็นวิถีชีวิตของคนไทย
เนื่องจากการคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน จึงต้องอาศัยเวลา ความอดทน และความร่วมมือจากบุคคลทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นมีการทำเป็นทีม เป็นเครือข่าย บางยุคบางสมัยมีการคอร์รัปชั่นตลอดสายการบังคับัญชา คือคอร์รัปชั่นตั้งแต่เสมียนพนักงานจนถึงนายกรัฐมนตรี
การปราบปรามคอร์รัปชั่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ เพราะผู้คอร์รัปชั่นย่อมไม่ทิ้งหลักฐานไว้ให้ผูกมัดตัวเอง หากทำอะไรอย่างผลีผลาม ผู้ปราบคอร์รัปชั่นจะกลายเป็นผู้ถูกปราบเสียเอง อย่างเบาๆก็อาจถูกฟ้องร้อง ในข้อหาหมิ่นประมาท ฐานทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เพราะแต่ละคน ทั้งที่เป็นข้าราชการประจำและนักการเมืองผู้มีอำนาจ ต่างก็ประกาศตนว่า จะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เกลียดคอร์รัปชั่น จะทำงานเพื่อชาติและประชาชนทั้งนั้น
การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นที่ผ่านมา หากพิจารณากันอย่างจริงจัง จะเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยเน้นไปที่การปราบปรามผู้ทีกระทำผิด แล้วเอามาลงโทษ เป็นการกำจัดคนที่ทำผิดออกไปจากหน่วยงาน ซึ่งเป็นการดำเนินการในเชิงลบ ส่วนการแก้ปัญหาในเชิงบวก โดยการแก้ปัญหาที่สาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ของคนในสังคม ซึ่งรวมทั้งข้าราชการ และนักการเมืองผู้ใีอำนาจ ให้มีลักษณะที่สร้างสรรค์ ตลอดจนศึกษาหาสาเหตุการคอร์รัปชั่นและพยามแก้ที่สาเหตุ ยังมีการทำกันน้อย
ขอย้ำว่า การแก้ปัญหาในสังคมไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดีไม่ดีการพูดเรื่องคอร์รัปชั่นบ่อยๆ อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำลายความมั่นคงของรัฐได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องช่วยกัน ถ้าอยากให้ประเทศพัฒนาทัดเทียมประเทศอื่นๆ
---------------------------------------------
สาระคิด
I do my thing,and you do your thing.
I am not in this world to live up to your expectations, and you are not in the world to live up to mine.
You are you, and I am I.
And if by chance we find each other.It is beautiful.
If not.It cannot be helped..
A Gestalt Prayer.
--------------------------------
หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและมีประสิทธิผลแล้ว แน่นอนเหลือเกินว่า จะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาอื่น จนไม่สามารถจะแก้ไขได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาในครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง
การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น จึงต้องเร่งรีบแก้ปัญหาโดยด่วน ก่อนที่คอร์รัปชั่นจะกลายเป็นเอกลักษณ์ เป็นวิถีชีวิตของคนไทย
เนื่องจากการคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน จึงต้องอาศัยเวลา ความอดทน และความร่วมมือจากบุคคลทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นมีการทำเป็นทีม เป็นเครือข่าย บางยุคบางสมัยมีการคอร์รัปชั่นตลอดสายการบังคับัญชา คือคอร์รัปชั่นตั้งแต่เสมียนพนักงานจนถึงนายกรัฐมนตรี
การปราบปรามคอร์รัปชั่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ เพราะผู้คอร์รัปชั่นย่อมไม่ทิ้งหลักฐานไว้ให้ผูกมัดตัวเอง หากทำอะไรอย่างผลีผลาม ผู้ปราบคอร์รัปชั่นจะกลายเป็นผู้ถูกปราบเสียเอง อย่างเบาๆก็อาจถูกฟ้องร้อง ในข้อหาหมิ่นประมาท ฐานทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เพราะแต่ละคน ทั้งที่เป็นข้าราชการประจำและนักการเมืองผู้มีอำนาจ ต่างก็ประกาศตนว่า จะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เกลียดคอร์รัปชั่น จะทำงานเพื่อชาติและประชาชนทั้งนั้น
การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นที่ผ่านมา หากพิจารณากันอย่างจริงจัง จะเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยเน้นไปที่การปราบปรามผู้ทีกระทำผิด แล้วเอามาลงโทษ เป็นการกำจัดคนที่ทำผิดออกไปจากหน่วยงาน ซึ่งเป็นการดำเนินการในเชิงลบ ส่วนการแก้ปัญหาในเชิงบวก โดยการแก้ปัญหาที่สาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ของคนในสังคม ซึ่งรวมทั้งข้าราชการ และนักการเมืองผู้ใีอำนาจ ให้มีลักษณะที่สร้างสรรค์ ตลอดจนศึกษาหาสาเหตุการคอร์รัปชั่นและพยามแก้ที่สาเหตุ ยังมีการทำกันน้อย
ขอย้ำว่า การแก้ปัญหาในสังคมไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดีไม่ดีการพูดเรื่องคอร์รัปชั่นบ่อยๆ อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำลายความมั่นคงของรัฐได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องช่วยกัน ถ้าอยากให้ประเทศพัฒนาทัดเทียมประเทศอื่นๆ
---------------------------------------------
สาระคิด
I do my thing,and you do your thing.
I am not in this world to live up to your expectations, and you are not in the world to live up to mine.
You are you, and I am I.
And if by chance we find each other.It is beautiful.
If not.It cannot be helped..
A Gestalt Prayer.
--------------------------------
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คอร์รัปชั่น:ผลกระทบทางสังคม
การคอร์รัปชั่นหากเกิดขึ้นในสังคมใด จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงแพร่หลายของการคอร์รัปชั่นในสังคมนั้น สำหรับสังคมไทย หากมีการปล่อยให้มีการคอร์รัปชั่นต่อไป จะส่งผลกระทบในลักษณะต่อไปนี้
1. จะทำให้คนทั้งชาติเสียขวัญ การคอร์รัปชั่นทำให้คนไทยทั้งชาติเสียขวัญเสียกำลังใจที่จะทำงานเพื่อชาติเพื่อบ้านเมือง ไม่อยากจะทำความดีอีกต่อไป เพราะทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์กับบ้านเมือง กลับเกิดประโยชน์แก่นักคอร์รัปชั่นทั้งหลาย ทั้งที่เป็นข้าราชการและนักการเมือง ยิ่งทุกวันนี้มีข่าวว่าเงินงบประมาณแผ่นดินร้อยละ 30 ต้องสูญเสียไปกับคอร์รัปชั่นของข้าราชการชั้นสูงและนักการเมืองผู้มีอำนาจ ทำให้คนในสังคมไทยถึงกับบ่นว่าไม่อยากเสียภาษีอีกต่อไป
2. ทำให้สังคมแตกแยก การคอร์รัปชั่นทำให้บุคคลมุ่งประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม เกิดความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายตน สถาบันทางสังคมบางสถาบันอาจหมดความหมาย ถ้าสถาบันนั้นไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับฝ่ายตน ส่วนสถาบันใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายตน ก็จะเกาะยึดสถาบันนั้นไว้ ในสังคมไทยทุกวันนี้ ที่เห็นได้ชัดเจนคือองค์กรอิสระต่างๆถูกข่มขู่คุกคาม เมื่อมีการตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นผลลบต่อฝ่ายตน นักการเมืองบางคนถึงกับคิดจะปฏิรูปองค์กรอิระเหล่านั้น เพราะองค์กรเหล่านั้นไม่ตัดสินเรื่องต่างๆตามที่ฝ่ายตนต้องการ ส่วนฝ่ายที่เห็นด้วยกับคำตัดสินก็ออกไปให้กำลังใจ ปกป้องสถาบันเหล่านั้น เกิดความแตกแยกในสังคม
3. ทำให้ศีธรรมเสื่อม การคอร์รัปชั่นทำให้คนละเลยคุณธรรมจริยธรรมที่พึงจะมี เล่นพรรคเล่นพวก เห็นแก่ตัว ในที่สุดคนในสังคมจะขาดจริยธรรมยึดเหนี่ยว ผลสุดท้ายจะเกิดความวุ่นวายในสังคม มีการขับไล่ หรือเสนอข้อเรียกร้องเพื่อประโยชน์ตน ดังที่ปรากฎเป็นข่าวอยู่เนืองๆ
4. ทำให้สังคมโดยรวมเสื่อมเสีย การคอร์รัปชั่นทำให้คนทั้งชาติเสื่อมเสีย ไม่เป็นที่เชื่อถือของชาติอื่น นักสังคมวิทยาชือ Blanchard กล่าวว่า ข้าราชการไทยมีพฤติกรรมการคอร์รัปชั่นมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือยิ่งกว่านั้น ศาสตราจารย์ Sutton เคยกล่าวในทำนองเดียวกันว่า การคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนไทย ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงสำรวจ ที่พบว่าวัยรุ่นไทยรับการคอร์รัปชั่นได้ ถ้าตนเองได้รับประโยชน์ด้วย
5. ทำให้ค่านิยมบางอย่างในสังคมเปลี่ยนไป ค่านิยมมีอิทธิพลเหนือการกระทำของคน เมื่อค่านิยมเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมก็จะเปลี่ยนไปด้วย หากปล่อยให้มีการคอร์รัปชั่น คนในสังคมที่เคยยึดมั่นต่อ ความดี ความสุจริต ยกย่องคนดี เปลี่ยนไปยึดความดีความสำเร็จของคนจากฐานะการเงิน เห็นการรีดไถโกงกินเป็นเรื่องธรรมดา ใครยึดถืออุดมการณ์กลายเป็นคนโง่ เป็นคนไม่เอาไหน เป็นคนที่สังคมไม่ต้องการ เป็นแกะดำในสังคม
ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นว่า การคอร์รัปชั่นมีผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมมาก หากสังคมไม่ช่วยกันแก้ไข เห็นแก่ประโยชน์เล็กๆน้อยๆจากการแบ่งปันของข้าราชการะดับสูงหรือนักการเมืองผู้มีอำนาจ การคอร์รัปชั่นก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย อย่างแน่นอน และเมื่อนั้นทุนทางสังคมของไทยก็จะหมดไปจนยากที่จะเรียกคืนมา
------------------------------------
สาระคิด
อย่าปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง
เพราะการกระทำของนักการเมืองส่งผลต่อประชาชนโดยรวม
------------------------
1. จะทำให้คนทั้งชาติเสียขวัญ การคอร์รัปชั่นทำให้คนไทยทั้งชาติเสียขวัญเสียกำลังใจที่จะทำงานเพื่อชาติเพื่อบ้านเมือง ไม่อยากจะทำความดีอีกต่อไป เพราะทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์กับบ้านเมือง กลับเกิดประโยชน์แก่นักคอร์รัปชั่นทั้งหลาย ทั้งที่เป็นข้าราชการและนักการเมือง ยิ่งทุกวันนี้มีข่าวว่าเงินงบประมาณแผ่นดินร้อยละ 30 ต้องสูญเสียไปกับคอร์รัปชั่นของข้าราชการชั้นสูงและนักการเมืองผู้มีอำนาจ ทำให้คนในสังคมไทยถึงกับบ่นว่าไม่อยากเสียภาษีอีกต่อไป
2. ทำให้สังคมแตกแยก การคอร์รัปชั่นทำให้บุคคลมุ่งประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม เกิดความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายตน สถาบันทางสังคมบางสถาบันอาจหมดความหมาย ถ้าสถาบันนั้นไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับฝ่ายตน ส่วนสถาบันใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายตน ก็จะเกาะยึดสถาบันนั้นไว้ ในสังคมไทยทุกวันนี้ ที่เห็นได้ชัดเจนคือองค์กรอิสระต่างๆถูกข่มขู่คุกคาม เมื่อมีการตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นผลลบต่อฝ่ายตน นักการเมืองบางคนถึงกับคิดจะปฏิรูปองค์กรอิระเหล่านั้น เพราะองค์กรเหล่านั้นไม่ตัดสินเรื่องต่างๆตามที่ฝ่ายตนต้องการ ส่วนฝ่ายที่เห็นด้วยกับคำตัดสินก็ออกไปให้กำลังใจ ปกป้องสถาบันเหล่านั้น เกิดความแตกแยกในสังคม
3. ทำให้ศีธรรมเสื่อม การคอร์รัปชั่นทำให้คนละเลยคุณธรรมจริยธรรมที่พึงจะมี เล่นพรรคเล่นพวก เห็นแก่ตัว ในที่สุดคนในสังคมจะขาดจริยธรรมยึดเหนี่ยว ผลสุดท้ายจะเกิดความวุ่นวายในสังคม มีการขับไล่ หรือเสนอข้อเรียกร้องเพื่อประโยชน์ตน ดังที่ปรากฎเป็นข่าวอยู่เนืองๆ
4. ทำให้สังคมโดยรวมเสื่อมเสีย การคอร์รัปชั่นทำให้คนทั้งชาติเสื่อมเสีย ไม่เป็นที่เชื่อถือของชาติอื่น นักสังคมวิทยาชือ Blanchard กล่าวว่า ข้าราชการไทยมีพฤติกรรมการคอร์รัปชั่นมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือยิ่งกว่านั้น ศาสตราจารย์ Sutton เคยกล่าวในทำนองเดียวกันว่า การคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนไทย ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงสำรวจ ที่พบว่าวัยรุ่นไทยรับการคอร์รัปชั่นได้ ถ้าตนเองได้รับประโยชน์ด้วย
5. ทำให้ค่านิยมบางอย่างในสังคมเปลี่ยนไป ค่านิยมมีอิทธิพลเหนือการกระทำของคน เมื่อค่านิยมเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมก็จะเปลี่ยนไปด้วย หากปล่อยให้มีการคอร์รัปชั่น คนในสังคมที่เคยยึดมั่นต่อ ความดี ความสุจริต ยกย่องคนดี เปลี่ยนไปยึดความดีความสำเร็จของคนจากฐานะการเงิน เห็นการรีดไถโกงกินเป็นเรื่องธรรมดา ใครยึดถืออุดมการณ์กลายเป็นคนโง่ เป็นคนไม่เอาไหน เป็นคนที่สังคมไม่ต้องการ เป็นแกะดำในสังคม
ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นว่า การคอร์รัปชั่นมีผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมมาก หากสังคมไม่ช่วยกันแก้ไข เห็นแก่ประโยชน์เล็กๆน้อยๆจากการแบ่งปันของข้าราชการะดับสูงหรือนักการเมืองผู้มีอำนาจ การคอร์รัปชั่นก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย อย่างแน่นอน และเมื่อนั้นทุนทางสังคมของไทยก็จะหมดไปจนยากที่จะเรียกคืนมา
------------------------------------
สาระคิด
อย่าปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง
เพราะการกระทำของนักการเมืองส่งผลต่อประชาชนโดยรวม
------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คอร์รัปชั่น:ผลกระทบทางการเมือง
การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ การแสวงหาอำนาจ การได้มาซึ่งอำนาจ และการใช้อำนาจในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกในสังคม หากเป็นการเมืองที่ได้อำนาจมาจากการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็จะใช้อำนาจไปในทางทุจริต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบอบการเมืองอย่างแน่นอน หากคอร์รัปชั่นมาก แพร่หลายมาก จะส่งผลกระทบต่อการเมืองมาก จนทำให้ระบอบการเมืองแบประชาธิปไตยไม่อาจพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง
หากจะจำแนกผลกระทบทางการเมืองอันเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ก่อให้เกิดการไร้เสถียรภาพทางการเมือง เพราะการคอร์รัปชั่น จะทำลายระเบียบและโครงสร้างทางการเมือง ทำให้การพัฒนาการเมืองไม่เป็นไปตามขั้นตอน ออกนอกลู่นอกทาง ใช้เสียงข้างมากอธิบายความถูกต้องชอบธรรม การเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญๆทางทางการเมือง แทนที่จะได้มาด้วยความรู้ความสามารถ กลับได้มาจากจำนวนเงินบำรุงพรรคว่าใครให้เงินบำรุงพรรคมากกว่ากัน เป็นต้น
2. ทำให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร การปฏิวติรัฐประหารในประเทศไทยหลายครั้ง ที่หัวหน้ารัฐประหารอ้างว่า จำเป็นต้องทำการรัฐประหาร เพราะมีการคอร์รัปชั่น แม้การทำรัฐประหารในปี 2549 ที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่งที่ต้องทำรัฐประหาร ก็เพราะมีการคอร์รัปชั่น เพราะการคอร์รัปชั่นทำให้ระเบียบต่างๆถูกละเมิด หรือได้รับแก้ไขเพื่อให้เอื้อต่การใช้อำนาจของผู้บริหาร อันส่งผลต่อประโยชน์ส่วนตน
3. ทำให้เกิดระบอบประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ อำนาจทางการเมืองที่ได้มาโดยวิธีการทุจริต จะ พยายามสร้างอำนาจเพื่อนำไปสู่การมีอำนาจที่ยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การสรรหาหาคนเป็นกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ แทรกแซงการเลือกสรรของวุฒิสภา และสุดท้ายจะแทรกแซงการตัดสินขององค์กรอิสระ จนไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล องค์กรอิสระกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของนักการเมืองผู้มีอำนาจในที่สุด สามารถใช้ทำลายนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม และสร้างความชอบธรรมให้กับพรรคพวกของตนได้ จนในที่สุดอำนาจทางการเมืองจะตกอยู่ที่คนๆเดียว หรือพรรคการเมืองพรรคเดียว
4. ทำให้เกิดการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการเมือง ที่ต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจมาโดยปราศจากความละอายและไร้ศีลธรรม และเมื่อมีอำนาจก็พยายามรักษาอำนาจไว้ให้นานเท่านาน การคัดค้านใดๆที่มีต่อรัฐบาล ถือว่าเป็นบ่อนทำลายความมั่นคง เป็นระบบการเมืองที่พยายามไม่ให้มีการแข่งขัน พยายามจะไม่ให้มีการกระจายอำนาจ เพราะจะทำให้อำนาจส่วนกลางลดลง
5. ทำให้มีการซื้อขายคะแนนเสียง มติต่างๆในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาขึ้นอยู่กับอำนาจทางการเงิน เริ่มจากการซื้อเสียงในตอนเลือกตั้งเพื่อมาขายเสียงในสภาฯ จะเห็นว่าสมัยหนึ่งมีการซื้อเสียงแบบยกพรรคเลยทีเดียว และเมื่อได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว หากอยากมีอำนาจในเชิงบริหาร ก็อาจซื้อตำแหน่งบริหารได้อีก จนกลายเป็นธุรกิจการเมืองในที่สุด
จะเห็นว่าหากปล่อยให้มีการคอร์รัปชั่น ไม่ว่าเป้นการคอร์รัปชั่นในวงราชการหรือในหมู่ันักการเมืองผู้มีอำนาจ จะมีผลทำให้การเมืองตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ ไม่สามารถขับเคลื่อนพัฒนาไปสู่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบได้
------------------------------------------------
สาระคิด
มุ่งหมายที่จะหาประโยชน์เพื่อตน หรือพรรคพวกภาคีของตน โดยปราศจากธรรมะ
การเมืองก็เป็นเรื่องสกปรก
พุทธทาสภิกขุ
----------------------------------
หากจะจำแนกผลกระทบทางการเมืองอันเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ก่อให้เกิดการไร้เสถียรภาพทางการเมือง เพราะการคอร์รัปชั่น จะทำลายระเบียบและโครงสร้างทางการเมือง ทำให้การพัฒนาการเมืองไม่เป็นไปตามขั้นตอน ออกนอกลู่นอกทาง ใช้เสียงข้างมากอธิบายความถูกต้องชอบธรรม การเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญๆทางทางการเมือง แทนที่จะได้มาด้วยความรู้ความสามารถ กลับได้มาจากจำนวนเงินบำรุงพรรคว่าใครให้เงินบำรุงพรรคมากกว่ากัน เป็นต้น
2. ทำให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร การปฏิวติรัฐประหารในประเทศไทยหลายครั้ง ที่หัวหน้ารัฐประหารอ้างว่า จำเป็นต้องทำการรัฐประหาร เพราะมีการคอร์รัปชั่น แม้การทำรัฐประหารในปี 2549 ที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่งที่ต้องทำรัฐประหาร ก็เพราะมีการคอร์รัปชั่น เพราะการคอร์รัปชั่นทำให้ระเบียบต่างๆถูกละเมิด หรือได้รับแก้ไขเพื่อให้เอื้อต่การใช้อำนาจของผู้บริหาร อันส่งผลต่อประโยชน์ส่วนตน
3. ทำให้เกิดระบอบประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ อำนาจทางการเมืองที่ได้มาโดยวิธีการทุจริต จะ พยายามสร้างอำนาจเพื่อนำไปสู่การมีอำนาจที่ยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การสรรหาหาคนเป็นกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ แทรกแซงการเลือกสรรของวุฒิสภา และสุดท้ายจะแทรกแซงการตัดสินขององค์กรอิสระ จนไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล องค์กรอิสระกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของนักการเมืองผู้มีอำนาจในที่สุด สามารถใช้ทำลายนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม และสร้างความชอบธรรมให้กับพรรคพวกของตนได้ จนในที่สุดอำนาจทางการเมืองจะตกอยู่ที่คนๆเดียว หรือพรรคการเมืองพรรคเดียว
4. ทำให้เกิดการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการเมือง ที่ต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจมาโดยปราศจากความละอายและไร้ศีลธรรม และเมื่อมีอำนาจก็พยายามรักษาอำนาจไว้ให้นานเท่านาน การคัดค้านใดๆที่มีต่อรัฐบาล ถือว่าเป็นบ่อนทำลายความมั่นคง เป็นระบบการเมืองที่พยายามไม่ให้มีการแข่งขัน พยายามจะไม่ให้มีการกระจายอำนาจ เพราะจะทำให้อำนาจส่วนกลางลดลง
5. ทำให้มีการซื้อขายคะแนนเสียง มติต่างๆในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาขึ้นอยู่กับอำนาจทางการเงิน เริ่มจากการซื้อเสียงในตอนเลือกตั้งเพื่อมาขายเสียงในสภาฯ จะเห็นว่าสมัยหนึ่งมีการซื้อเสียงแบบยกพรรคเลยทีเดียว และเมื่อได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว หากอยากมีอำนาจในเชิงบริหาร ก็อาจซื้อตำแหน่งบริหารได้อีก จนกลายเป็นธุรกิจการเมืองในที่สุด
จะเห็นว่าหากปล่อยให้มีการคอร์รัปชั่น ไม่ว่าเป้นการคอร์รัปชั่นในวงราชการหรือในหมู่ันักการเมืองผู้มีอำนาจ จะมีผลทำให้การเมืองตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ ไม่สามารถขับเคลื่อนพัฒนาไปสู่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบได้
------------------------------------------------
สาระคิด
มุ่งหมายที่จะหาประโยชน์เพื่อตน หรือพรรคพวกภาคีของตน โดยปราศจากธรรมะ
การเมืองก็เป็นเรื่องสกปรก
พุทธทาสภิกขุ
----------------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)