คาร์ล โรเจอร์ส(Carl Rogers) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิทยามนุษยนิยม เป็นเจ้าของทฤษฎีเกี่ยวกับตน(Self-Theory) และวิธีการบำบัดที่เรียกว่า Client centered Theory หรือ Non-directive Theory หรือ Person-centered Theory ซึ่งเป็นวิธีบำบัดที่ยึดผู้รับการบำบัดเป็นศูนย์กลาง เพราะเชื่อว่าผู้รับการบำบัดเป็นผู้รู้ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาชองตน
ปัจจุบันทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ได้รับการยอมรับและนำไปประยุกต๋ใช้อย่างกว้างขวาง โดยนำไปใช้กับบุคคลปกติมากขึ้น เพื่อพัฒนาบุคคลให้งอกงามเต็มศักยภาพ
ในด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคคล โรเจอร์ส เห็นว่า มนุษย์นั้นมีลักษณะเปราะบาง แต่ยืดหยุ่นได้เหมือนสาหร่ายทะเล ส่วนบุคลิกภาพจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ตน(self-perception)และประสบการณ์ หากการรับรู้ตนกับประสบการณ์ทำหน้าที่ผสมกลมกลืนมากเท่าไร ความมั่นคงปลอดภัยจะเกิดขึ้นกับตนเองมากขึ้นเท่านั้น
โรเจอร์ส เห็นว่ามนุษย์มีความปรารถนาที่จะสร้างภาวะสมดุลย์ เพื่อการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มีอิสระมากขึ้น มีเสรีภาพที่จะแสดงออก มนุษย์ทุกคนสามารถแก้ปัญหาของตนได้ มนุษย์ไม่มีธรรชาติใฝ่ต่ำ แต่สถานการณ์แวดล้อมไม่เอื้ออำนวย จึงไม่สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ และจากประสบการณ์ทำจิตบำบัดของเขา พบว่า มนุษย์ทุกคนต่างดิ้นรนเพื่อชีวิตที่ดี แต่มีเป้าหมายของชีวิตแตกต่างไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
เกี่ยวกับการพัฒนาตน มนุษย์แต่ละคนมีแรงขับเพื่อการพัฒนาตนให้เป็นตนตามความเป็นจริง แต่การมีแรงจูงใจหรือแรงขับอย่างเดียว บุคคลไม่สามารถจะพัฒนาตนไปสู่ความเป็นตนตามความเป็นจริงได้ เพราะมนุษย์มีความต้องการ 2 ประการ คือ ความต้องการที่จะได้รับความนับถือจากบุคคลอื่นในเชิงบวก การยอมรับในที่นี้ หมายรวมถึงการเห็นอกเห็นใจ การให้ความอบอุ่น ฯลฯ กับความต้องการนับถือตนเอง ซึ่งความต้องการทั้ง 2 ประการนี้ มีความสำคัญต่อการพัฒนาตนด้วย
การพัฒนาตนเริ่มตั้งแต่วัยทารก โลกของทารกคือการมีประสบการณ์ที่เป็นจริง ที่สัมผัสได้ด้วยตนเอง มีทั้งแรงขับและแรงจูงใจ ที่ผลักดันให้บุคคลต้องการรู้จักตนเองตามความเป็นจริง เมื่อเด็กโตขึ้นจะสามารถจำแนกประสบการณต่างๆ และรู้ว่าอะไรเป็นของคนอื่นอะไรเป็นของตน
เด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงดูด้วยความรักความเอาใจใส่อย่างบริสุทธิ์ใจ เป็นความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข บุคคลนั้นจะปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี มีประสิทธิภาพ มีสุขภาพจิตดี ส่วนเด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูแบบไม่คงเส้นคงวา ตั้งความหวังกับลูกมากเกินไป ลูกเป็นสิ่งชดเชยความรักหรือความขาดแคลนของพ่อแม่ ทำให้เด็กมีตัวตนสับสน เด็กจะพัฒนานิสัยใจคอไปในทางลบ เช่น ชอบหลอกตัวเองและบุคคลอื่น ชอบกล่าวโทษผู้อื่น หนีสังคม มักมองเห็นสังคมและผู้คนรอบข้างไม่น่าไว้วางใจ
และจากประสบการณ์การทำจิตบำบัด ทำให้โรเจอร์สพบความจริงว่า มนุษย์ทุกคนต่างก็ดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตที่ดีตามเป้าหมายของชีวิตที่แตกต่างไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
สำหรับชีวิตที่ดีตามทัศนะของโรเจอร์สมีดังนี้
1.เปิดรับความคิดหรือความรู้สึกของตนอย่างจริงใจ ไม่ว่าความคิดหรือความรู้สึกนั้นจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ ตลอดจน มีความสามารถในการจัดการกับความคิดหรือความรู้สึกนั้นได้อย่างเหมาะสม
2.มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ผูกมัดตนเองกับประสบการณ์ในอดีตมากเกินไป หรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่งจะมี จะเป็น ในอนาคต
3. ตัดสินใจเลือกวิถึชีวิตหรือการกระทำด้วยความคิดและสติปัญญาของตน แต่ไม่ได้เป็นคนดื้อรั้นหรือหลงตน โดยไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น เป็นบุคคลยอมรับกฎเกณฑ์ท างสังคมและวัฒนธรรมมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือก
4. มีอิสระที่จะทำกิจกรรม หรือบทบาทต่างๆด้วยความรับผิดชอบ ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของศีลธรรมจรรยา
5. มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ทำอะไรโดยผูกติดกับอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรมตลอดเวลา
โดยสรุป โรเจอร์สซึ่งเป็นเจ้าทฤษฎีเกี่ยวกับตน และกระบวนการจิตบำบัดโดยยึดบุคลลเป็นศูนย์กลาง มีทัศนะว่่า มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนดี ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายการมีชีวิตที่ดี แต่ที่ไม่อาจพัฒนาไปสู่เป้าหมายได้ก็เพราะสิ่งแวดล้อมทางชักนำให้เป็นไป โดยเฉพาะการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคำ
มนุษย์ทุคนมีตัวตน 3 แบบ คือตนที่ตนมองเห็น ตนตามที่เป็นจริง และตนตามอุดมคติ
Carl Rogers
*********************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น