วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รูปแบบของระบบการเมือง

การเมืองเกี่ยวข้องกับเรื่องของรัฐ  อำนาจ และการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกในสังคม  การเมืองเป็นกระบวนการของการใช้อำนาจ  ซึ่งเป็นอิทธิพลเหนือความคิดและพฤติกรรมของคนอื่น  ผลที่ตามมาคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก ได้ตั้งข้อสังเกตว่า มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองโดยธรรมชาติ  การเมืองเป็นกิจกรรมอย่างหนึี่่่่งในสังคมนุษย์              และเป็นกิจกรรมที่มีความซับซ้อนไปตามลักษณะของสังคมนั้นๆ   ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงการเมืองและกิจกรรมทางการเมืองได้

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ในเรื่องอำนาจของระบบการเมืองแต่ละระบบจะไม่เหมือนกัน  บางระบบรัฐบาลมีอำนาจมาก  บางระบบประชาฃนมีส่วนอย่างกว้างขวางในการเลือกผู้ปกครอง  ความแตกต่างเช่นนี้  ทำให้สามารถแบ่งประเภทของระบบการเมืองออกได้เป็นรูปแบบต่างๆตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ได้เป็น 2 ระบบ คือระบบการเมืองแบบเผด็จการ และระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย

ระบบเผด็จการ เป็นระบบการเมืองที่ปกครองโดยคนกลุ่มน้อย เป็นระบบการเมืองที่จำกัดเสรีภาพของประชาชน ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น

ระบบการเมืองแบบอภิชนหรือแบบอภิชนาธิปไตย  เป็นการปกครองโดยชนชั้นนำ  ซึ่งมีสถานะภาพทางสังคมสูง ที่มีสมบัติและมีอำนาจทางการเมือง  เป็นระบบการเมืองของอังกฤษในศตวรรษ ที่ 18 และ 19

ระบการเมืองแบบคณาธิปไตย เป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อย  ซึ่งอาจเป็นการปกครองโดยคณะทหาร  หรือการปกครองโดยมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ระบอบคณาธิปไตยแตกต่างจากอภิชนาธิปไตย ในแง่ที่ว่า  คณาธิปไตยเป็นการปกครองของคนกลุ่มน้อยที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นชนชั้นสูง  แต่อาจเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้อำนาจทางการเมือง  โดยวิธีการต่างๆ  ระบบการเมืองแบบนี้มีอยู่ในประเทศลาติน
อเมริกา และบางประเทศในแอฟริกาและเอเซีย

ระบบการเมืองแบบอำนาจนิยม เป็นระบบการเมืองที่ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง ในการกำหนดนโยบาย  และผู้ปกครองประเทศไม่ได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง   หากมีพรรคการเมืองก็ปราศจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง

ระบบการเมืองแบบเผด็จการ  คล้ายคลึงกับแบบอำนาจนิยมมากและมักใช้แทนกันเสมอ  เป็นการปกครองที่จำกัดเสรีภาพของประชาชน  ประชาชนไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง  หรือมีอิทธิพลทางการเมือง  เป็นการปกครองที่เน้นที่ตัวผูนำ ซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มคน  โดยเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่มีความฉลาดเพียงพอ

ระบบการเมืองเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ  เป็นการปกครองที่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว  ระบบพรรคเดียวที่เห็นชัดก็คือ ระบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่ผูกขาดอำนาจทางการเมือง  เป็นระบบการเมืองที่ใช้อำนาจเผด็การอย่างกว้างขวาง  ใช้อำนาจเข้าไปดูแลทั้งระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นให้ทุกคนยึดมั่นในอุดมการณ์ของรัฐ  และทุกคนจะต้องจะต้องดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับอุดมการณ์นั้น

อย่างไรก็ตามระบบเผด็จการดังกล่าวนี้ บางระบบเลือนหายไปบ้าง  บางระบบก็มีการแปลงรูปหรือซ่อนรูปในแบบประชาธิปไตย  ที่ใช้องค์ประกอบแต่เพียงการเลือกตั้ง  หรือประเทศคอมมิวต์บางประเทศที่ยอมให้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจภายใต้การชี้นำของรัฐบาล

ระบการเมืองแบบประชาธิปไตย  เป็ระบบการเมืองที่ปกครองโดยคนส่วนมาก  เป็นระบบการเมืองที่ประชาชนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  เป็นผู้กำหนดผู้ปกครองและนโยบายของรัฐบาล  โดยส่วนใหญ่แล้วใช้วิธีการเลือกตั้ง  ซึ่งเป็นไปโดยเสรีและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และให้มีการหมุนเวียนผู้ที่เป็นรัฐบาล  เพื่อมิให้ผูกขาดอำนาจนานเกินไป  องค์ประกอบสำคัญๆของประชาธิปไตยที่เป็นระบบการเมือง คือการเลือกตั้ง  เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน  หลักการปกครองโดยกฎหมาย และการใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์แต่ต้องฟังเสียงข้างน้อย

 เมื่อพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของระบบการเมืองรูปแบบต่างๆแล้ว ชวนให้สงสัยว่าประเทศไทยมีการปกครองแบบใดกันแน่  เพราะแม้แต่พรรคการเมืองพรรคหนึ่งขึ้นป้ายหาเสียงว่า "ทักษิณคิดเพื่อไทยทำ" ยังได้รับการเลือกตั้งจนได้เป็นรัฐบาล  หรือว่าประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ไม่ฉลาดเพียงพอ  ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายตามระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย
                                   --------------------------------------------------------------
                                                                 สาระคิด 

ใครก็ตามที่เลือกจะขี่หลังเสือ  ย่อมรู้ตัวดีอยู่แล้วว่า  พวกเขาจะต้องจบชีวิตลงในท้องเสืออย่างแน่นอน

                                                                             คำกล่าวของอินเดียโบราณ
                                                    ------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น