คำว่าวัฒนธรรม ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นวัฒนธรรมในความหมายทางมานุษยวิทยา ซึ่งหมายถึง วิถีชีวิตในสังคมหนึ่งๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นหนึ่ง อันประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมที่สังคมนั้นๆยอมรับ และไม่สามารถนำไปใช้ตัดสินว่าวัฒนธรรมใดสูงหรือต่ำ ดีหรือเลว แต่เป็นวิถีชีวิตที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของสังคมนั้นๆ เมื่่อเวลาเปลี่ยนไป สภาพทางสังคมเปลี่ยนไป บางวัฒนธรรมอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน
เดิมเชื่อกันว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นตัวกำหนดการพัฒนาที่สำคัญ ประเทศใดมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ประเทศนั้นจะพัฒนาได้เร็ว แต่จากการศึกษาพบว่า คนต่างหากที่สำคัญต่อการพัฒนา เพราะคนเป็นทั้งผู้ใช้ทรัพยากร เป็นผู้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของคน
การที่คนจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลักษระใด หรือเปลี่ยนแปลงทรัพยากรให้เป็นไปในลักษณะใด ขึ้นอยู่กับความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนพฤติกรรมของคนในสังคมนั้นๆ หรือขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้นๆนั่นเอง
วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทุกอย่าง นั้บตั้งแต่ การกิน การนอน จนถึงการทำงานเพื่อการพัฒนาประเทศ
แต่เมื่อพิจารณาถึงวัฒนธรรมของคนไทย จะพบว่าสังคมไทยมีความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนพฤติกรรมหลายอย่าง ที่น่าจะเป็อุปสรรคต่การพัฒนา ทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง
ในทางเศรษฐกิจ มีความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมในลักษณะต่อไนี้ น่าจะเป็นอุสรรคในการพัฒนา กล่าวคือ
เชื่อว่างานเบาเป็นงานที่มีเกียรติกว่างานหนัก ใครยิ่งทำงานห่างจากการใช้แรงกายมากเท่าไร จะยิ่งมีเกียรติมากขึ้นเท่านั้น คนไทยจึงเลี่ยงงานที่ใช้แรงกาย เกิดการเลือกงาน งานที่ต้องใช้แรงงานจึงตกไปอยู่กับคนต่างชาติ ที่นับวันจะเข้ามาทำงานลักษณะนี้ในประเทศไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกันส่งผลให้คนไทยว่างงานมากขึ้น
เชื่อว่าบุญกรรมเป็นตัวกำหนดสภาพปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทำให้ขาดการดิ้นรนที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศชาติโดยรวม
การเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและสิ่งลึกลับมากกว่าอำนาจในตน เชื่อว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับการสวดมนต์อ้อนวอนหรือฤกษ์ยาม มีผลทำให้ต้องใช้จ่ายเงินเพื่อพิธีกรรมต่างๆมากเกินจำเป็น
เชื่อว่าความสำเร็จในการทำงานขึ้นอยู่กับโชคชะตา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความขยันหรือขี้เกียจ และขึ้นอยู่กับว่ามีีคนอุปถัมภ์หรือไม่
เชื่อว่าการประหยัดไม่เป็นสิ่งจำเป็น ความยากจนเป็นสิ่งที่น่าอับอาย จึงชอบแสดงออกด้วยการหรูหราฟุ่มเฟือย ขาดความสำนึกเรื่องเงิน รู้แต่ว่าเงินมีไว้ซื้อของเพื่อสนองความต้องการของตน จึงขาดการประหยัด มีผลทำให้ขาดเงินลงทุนในที่สุด
นอกจากนั้น คนไทยยังขาดความอดทนในการทำงานที่ยาก ขาดการวางแผนในการทำงาน ทำงานโดยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ชอบทำงานคนเดียวมากกว่าทำงานเป็นกลุ่ม ขาดระเบียบวินัย ทำงานตามความพอใจของตนเอง ยึดความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากว่าความถูกต้อง
ในทางการเมือง ก็เช่นกัน ดังที่เคยกล่าวไว้ในตอนก่อนๆว่า วัฒนธรรมไทยมีหลายลักษณะที่น่าจะเป็นอุปสรรค ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นอุสรรคต่อการพัฒนาทางการเมือง เช่น
ลักษณะอิสระนิยม ชอบความเสรี ทำได้ตามใจคือไทยแท้ บางครั้งให้ความสำคัญกับอิสระนิยมมากจนขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ลักษณะปัจเจกชนนิยม เป็นลักษณะที่ยึดตนเองเป็นสำคัญ มากกว่าที่จะคำนึงถึงส่วนรวม มีผลทำให้ยึดประโยชน์ตนมากกว่าส่วนรวม
ลักษณะอำนาจนิยม คนไทยชอบแสวงหาอำนาจ ชอบการมีอำนาจ เพราะอำนาจช่วยให้มีสภานภาพทางสังคมสูงขี้น
ยึดตัวบุคคลมากว่ากฎเกณฑ์หรือหลักการ เคารพบุคคลมากกว่าอุดมการณ์หรือข้อบังคับ เพราะเชื่อว่าข้อบังคับต่างๆทำขึ้นด้วยคน เปลี่ยนแปลงได้
ลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทยเหล่านี้ เป็นลักษณะที่น่าจะเป็นอุสรรคต่อการพัฒนา ถ้าจะพัฒนาประเทศในทางเศรษฐกิจหรือพัฒนาทางการเมืองหรือทางสังคม จะต้องเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เอื้อต่อการพัฒนาควบคู่ไปด้วย มิฉะนั้นการพัฒนาจะดำเนินไปได้ยาก
------------------------------------------------
สาระคิด
ผู้มีอำนาจบริหาร ถึงจะมีกำลังอำนาจ แต่เป็นคนพาล ย่อมไม่เป็นผลดี
พุทธสุภาษิต
-----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น