จากการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพบว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับการทำงาน ดังนี้
1. การทำงานเป็นกิจกรรมที่ไม่มีความดีในตัวมันเอง
จากเอกสารสามารถสรุปได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดว่า การทำงานเป็นกิจกรรมที่มีความดีในตัวมันเอง หรือเป็นกิจกรรมที่มีค่า
แต่การทำงานเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ได้สิ่งที่ปรารถนา คนไทยจึงสนใจผลที่ได้จากการทำงาน มากกว่าที่จะจริงจังกับการทำงาน หรือทำงานอย่างสม่ำเสมอ การเลือกทำงานเบาแต่ได้ผลตอบแทนสูงจึงเกิดขึ้นในสังคม
และคนไทยยังเชื่อต่อไปว่า งานเบาเป็นงานที่มีเกียรติ มากกว่างานหนักหรืองานที่ต้องใช้แรงกาย ยิ่งใครทำงานที่ห่างจากการใช้แรงกายมากเท่าไร จะยิ่งมีเกียรติมากขึ้นเท่านั้น
แนวความเชื่อและความคิดดังกล่าวนี้ ได้รับการสนับสนุนจากระบบการศึกษาโดยไม่ตั้งใจอีกด้วย
ถ้าพิจารณาถึงรายละเอียดจากข้อมูลที่ได้จากเอกสาร พบว่า ความดีของการทำงานที่คนไทยมองเห็น เป็นความดีที่เกิดจากการเห็นว่า การทำงานเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ
ความดีของการทำงาน จึงเป็นความดีในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จ เมื่อใดที่มีเครื่องมืออื่นที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า ความดีของการทำงานในฐานะที่เป็นเครื่องมือจะหมดไป กลับไปใช้เครื่องมืออื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
นั่นคือ เมื่อใดที่คนไทยมีวิธีการ ที่ช่วยให้ตนเองได้ในสิ่งที่ตนต้องการโดยไม่ต้องทำงาน คนไทยจะใช้วิธีนั้นทันที
(มีต่อ)
------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก: ไพศาล ไกรสิทธิ์ วัฒนธรรมการทำงานของคนไทย ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-------------------------------------------------------------
สาระคิด
การทำงานแทบจะไม่ได้รับการยอมรับจากคนไทยว่า เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าในตัวมันเอง ชาวนา คนงาน แทบจะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่การทำงานนั่งโต๊ะ หรือการเป็นเจ้าคนนายคน เป็นงานที่ดีกว่า การทำงานยิ่งห่างจาการใช้มือโดยตรงมากเท่าไร จะยิ่งมีเกียรติสูงขึ้นเท่านั้น
Niels Mulder
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น