ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการพัฒนาตนเอง เป็นศาสนาแห่งการฝึกอบรมตน มีหลักธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเป็นแกนกลาง
คำว่า "ภาวนา" ซึ่งแปลว่า "พัฒนา" ได้ถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติธรรมทุกอย่าง บุคคลสูงสุดในทางพุทธศาสนานับตั้งแต่ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ หรือ อริยบุคคลทั่วไป ล้วนเกิดจาการพัฒนาตนด้วยตนเองทั้งสิ้น
ในทางพุทธศาสนา ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วย"กาย"กับ"จิต" การพัฒนาตนด้วยตนเอง ก็คือ"การพัฒนากาย"กับ"การพัฒนาจิต"ด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตนด้วยตนเอง จะสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ นอกจากจะต้องดำเนินตามวิธีการแล้ว พระอมรโมลี(ประศาสน์ ปัญญาธโร) กล่าวว่า จะต้องมีหลักพุทธธรรมต่อไปนี้ประกอบ
1.อินทรีย์ 5 หรือ พละ 5 เป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อม ว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ตลอดจนเป็นการบ่งชี้ว่า การพัฒนาตนมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด อิทรีย์ 5 เป็นหลักธรรมที่ใช้ในการพัฒนาตนเพื่อให้เกิดกำลังภายใน ประกอบด้วย
1.1 ศรัทธา คือ ความเชื่อที่มีเหตุผล ความมั่นในใจใน ความจริง ความดี ของสิ่งที่นับถือหรือสิ่งที่ถือปฏิบัติ ทำหน้าที่กำจัดความไม่เชื่อถือ
1.2 วิริยะ คือ ความเพียรพยามอย่างมีกำลังใจ ก้าวหน้า ไม่ท้อยถอย ทำหน้าที่กำจัดความเกียจคร้าน
1.3 สติ คือ ความระลึกได้ กำกับจิตใจไว้กับกิจการงานที่ทำ นึกถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง ทำหน้าที่กำจัดความประมาท
1.4 สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น ความแน่วแน่ในกิจในสิ่งที่ทำ ทำหน้าที่กำจัดความฟุ้งซ่านรำคาญ
1.5 ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง รู้สิ่งที่ทำที่ปฏิบัติ หยั่งรู้ หรือรู้เท่าทันสภาวะ ทำหน้าที่กำจัดอวิชชา
นอกจากนั้น อินทีย์ 5 ยังส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร ความเพียรทำให้เกิดสติมั่นคง เมื่อสติมั่นคนทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจ มองเห็นถึงโทษของอวิชชา
2.อิทธิบาท 4 เป็นธรรมอันช่วยให้สำเร็จตามประสงค์ เป็นหลักธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการนั้นๆ การพัฒนาตนก็เช่นกัน ถ้าประกอบด้วยอิทธิบาท 4 ก็จะประสบความสำเร็จ สำหรับอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย
2.1 ฉันทะ แปลว่า ความรักความพอใจ ทำอะไรถ้าทำด้วยความรักความพอใจ จะช่วยให้เกิดความสำเร็จ ความพอใจเกิดจากการเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นหรือของงานนั้น ฉันทะไม่ใช่เฉพาะแต่รักงานเท่านั้น แต่หมายถึงว่า เมื่อทำอะไรก็ต้องทำให้ดีที่สุด ทำให้เรียบร้อยสมบูรณ์
2.2 วิริยะ คือความเพียร ซึ่งความเพียร แปลว่า ความแกล้วกล้า คือเจองานแล้วไม่ถอย เป็นผู้มีจิตสำนึกในการฝึกตน ชอบทำงานที่ยาก รู้จักเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา มองเห็นงานเป็นสิ่งท้าทาย เป็นคนมีจิตใจสู้จนสำเร็จ
2.3 จิตตะ แปลว่า ใจจดจ่อ เป็นลักษณะของคนที่อุทิศตนต่องาน เพราะเห็นความสำคัญของกิจ ที่ทำที่มีต่อตน ที่มีต่อชีวิตของตน
2.4 วิมังสา แปลว่า ทดลอง หรือ ทดสอบ คือคอยตรวจตราหาทางแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ ซึ่งต้องใช้ปัญญาประกอบ เป็นการทำงานด้วยปัญญา
ในการพัฒนาตนด้วยตนเอง เริ่มต้นด้วยการวัดความพร้อม โดยใช้ อินทรี่ย์ 5 แล้วจึงดำเนินการพัฒนาตนโดยใช้ อิทธบาท 4 หากบุคคลใดที่ต้องการพัฒนาตนเอง ถึงพร้อมด้วยหลักธรรมอินทรีย์ 5 และอิทธิบาท 4 จะช่วยให้การพัฒนาตนด้วยตนเองบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
*********************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น