วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาประเทศมีหลายแนวทาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นแนวทางที่ทำให้การพัฒนาประเทศดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นระบบ ในฐานะที่มนุษย์เป็นผู้พัฒนา และผู้ถูกพัฒนา ด้วยการยกระดับความสามารถของบุคคล เพิ่มสมรรถภาพในการผลิต ตลอดจนความสามารถที่จะสร้างสรรค์และเสริมสร้างความเป็นผู้นำ โดยวิธีการทางการศึกษา การฝึกอบรม และการวิจัย

การพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตั้งอยู่บนสมติฐานที่ว่า

           1. ในการพัฒนาประเทศ ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีมากที่สุด มีมากกว่าทรัพยากรอื่นๆ และส่วนใหญ่ถูกใช้ต่ำกว่าระดับ

          2. ทักษะ ความรู้ และสมรรถภาพของทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างไม่มีข้อจำกัด และประเทศส่วนมาก ได้พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติน้อยกว่าความเป็นจริง

          3. แม้จะขาดทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางกายถาพ ประเทศก็สามารถใช้กำลังคน เพื่อประโยชน์ในการผลิตและการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิผล

สำหรับเป้าหมาย ในการพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

          1. การใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมการผลิต  การพัฒนาทักษะของทรัพยากรมนุษย์จึงต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการผลิต หากสามารถผลิตสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ แสดงถึงการใช้และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทะิผล การพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะเน้นความสำคัญของการใช้และการพัฒนาทักษะ ความรู้ และสมรรถภาพเพื่อการผลิตของทรัพยากรมนุษย์

          2. การลดการว่างงาน การลดการว่างงานเป็นการยกระดับการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคของผู้ยากไร้ในสังคม การเพิ่มรายได้ของแรงงานส่วนใหญ่ แมัเป็นแต่เพียงรายได้จำนวนเล็กน้อย ก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

           3. การลดความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสและเพิ่มความมั่งคั่ง เป้าหมายข้อนี้หมายรวมถึง การมีสุขภาพดี และมีภาวะโภชนาการที่ดีด้วย

จะเห็นว่าการพัฒนาประเทศโดยยึดแนวทางการะัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาทักษะ ความรู้ และสมรรถภาพของกำลังแรงงาน

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาทรัยากรมนุษย์ก็มิได้ละเลยปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยยอมรับคุณค่าของการพัฒนาวัฒนธรรม การสร้างตวามสำนึกของชุมชน ตลอดจนบทบาทและอุดมการณ์สร้างชาติ

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP) มองว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับการศึกษา การฝึกอบรมและการใช้ศักยภาพของมนุษย์ให้เกิดประโยชน์ เพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม

ปัจจัยที่ช่วยเพิ่มพลังให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ การศึกษา สุขภาพและโภชนาการ สิ่งแวดล้อม การจ้างงาน  รวมทั้งเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ปัจจัยทั้ง 5 ประการนี้ มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีการศึกษาเป็นพื้นฐานของปัจจัยอื่นๆ

การศึกษาเป็นปัจจัยที่จำเป็น ต่อการปรับปรุงสุขภาพและโภชนาการ รักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงคุณภาพของแรงงานให้ดีขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เริ่มจากการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาสำหรับทุกคน ซึ่งจะมีผลผลักดันให้มีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ทำให้เกิดอุปสงค์อุปทานทางการศึกษาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการขยายการศึกษาในลักษณะ "มากขึ้นแบบเดิมๆ (more of the same)" จะกลายเป็นการขยายการว่างงาน หรือการทำงานต่ำกว่าระดับของผู้การศึกษาได้เช่นกัน

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่ตลอดเวลา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องพัฒนาให้มนุษย์มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่พึงประสงค์ และมีความก้าวหน้าได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 และในการ การพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นจะต้องตระหนักเสมอว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เพื่อประโยชน์ทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                                              สาระคำ

ทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง ทักษะทั้งหมดของมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

                                                                                     UNESCO

*********************************************************************************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น