2. ในวัยเด็กคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเตรียมตัวที่จะทำงานอาชีพ
จากการวิเคราะห์เอกสารที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง สรุปได้ว่า การอบรมเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทยนั้น ไม่ได้เน้นเรื่องการทำงาน แต่เน้นที่จะสร้างลักษณะอื่นๆ เพื่อให้เป็นที่รักของผู้ใหญ่และคนอื่นๆ ที่จะเป็นที่พึ่งได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การเรียนการสอนในโรงเรียน ก็ไม่ได้มุ่งให้นักเรียนทำงาน หรือรู้จักเตรียมตัวเพื่อการทำงาน การเรียนการสอนมุ่งที่จะเตรียมตัวนักเรียนให้สามารถเรียนต่อสูงขึ้น
เด็กไม่ได้เรียนเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น เด็กรู้สึกรังเกียจการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานใช้แรงกาย แม้จะเรียนมาทางสายอาชีพ ก็ไม่มีทักษะเพียงพอที่จะประกอบอาชีพได้
การเตรียมตัวเพื่อที่จะทำงานอาชีพได้รับการละเลย ทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน
การทำงานมีความสำคัญควบคู่กับความเป็นมนุษย์ มนุษย์เกิดมาโดยไม่ทำงานไม่ได้ การฝึกอบรมให้รู้จักการทำงานจึงเป็นภาระหน้าที่ของสังคม
การฝึกอบรมที่ไม่ส่งเสริมให้คนรู้จักการทำงาน เป็นการฝึกอบรมที่ไม่ช่วยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรือการฝึกอบรมที่เน้นแต่ให้ทำงานโดยใช้สมองเพียงประการเดียว ให้ละเลยหรือรังเกียจการทำงานที่ต้องใช้แรงกาย ก็เป็นการฝึกอบรมที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะไม่มีสังคมใดที่ดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานโดยใช้สมองหรือแรงกายเพียงอย่างเดียว
การที่พบว่า คนไทยไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเตรียมตัวที่จะทำงานอาชีพ ก็ดี หรือการสอนให้ดูถูกงานที่ต้องใช้แรงงาน ก็ดี เป็นเรื่องที่ควรแก้ไขโดยรีบด่วน มิฉะนั้นสังคมไทยจะประกอบสมาชิกที่ไร้ความสามารถในการทำงาน เป็นสังคมที่นิยมการบริโภคมากกว่าการผลิต
-----------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก: วัฒนธรรมการทำงานของคนไทย ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
ความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาที่จัดให้เรียน และวิธีสอน ส่วนใหญ่เป็นการให้ความรู้ เพื่อ"รู้ไว้ใช่ว่า"มิใช่"รู้เพื่อปฏิบัติ" และถ้าเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติของผู้เรียน ก็มักจะเล็งไปที่"สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ"มากกว่า"วิธีที่จะประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม"
เฉลียว บุรีภักดี
*****************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น