วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

ทุนนิยมกับสังคมนิยมมีแนวทางการพัฒนาต่างกันอย่างไร

ในทางปฎิบัติการพัฒนาประเทศแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยมกับแนวทางการพัฒนาแบบสังคมนิยม

ซึ่งแนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยมกับแนวทางการพัฒนาแบบสังคมนิยม มีข้อแตกต่างที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. การมองสภาพการด้อยพัฒนา 

ในการมองสภาพการด้อยพัฒนา ทุนนิยมจะมองว่า ปัญหาการด้อยพัฒนาอยู่ที่บุคคล จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาที่กลุ่มบุคคลที่ยังไม่พัฒนา

ส่วนสังคมนิยมมองว่าปัญหาการด้อยอยู่ที่โครงสร้างของระบบ แม้ว่าบุคคลจะดิ้นรนต่อสู้เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเองเพียงใดก็ตาม หากโครงสร้างไม่เอื้ออำนวย ก็จะถูกครอบงำโดยโครงสร้างต่อไป

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา 

ในด้านความเจริญทางวัตถุนั้น ทุนนิยมมองที่ประสิทธิภาพของความเจริญ ในขณะที่สังคมนิยมมองที่ความเสมอภาคของความเจริญ

ในด้านเสถียรภาพและความเรียบร้อยของสังคม ทุนนิยมพึ่งกฎระเบียบของรัฐเป็นหลัก ส่วนสังคมนิยมเห็นว่ากฎหมายของรัฐไม่อาจเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อความเป็นกลาง ดังนั้น จึงใช้เครื่องมือที่อยู่นอกเหนือระเบียบของรัฐ คือ ความยุติธรรมทางสังคม

ในด้านเสรีภาพ ทุนนิยมมองว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงศักดิ์ศรีของมนุษย์จะขาดเสียมิได้ ส่วนสังคมนิยมเห็นว่า เสรีภาพจะต้องคู่กัยวินัยและเงื่อนไขตามความเป็นจริงของฐานะบุคคล

3. วิธีการพัฒนา 

ทุนนิยมมองว่า เสรีภาพและการแข่งขันเป็นเครื่องมือสำคัญของการพัฒนา จึงส่งเสริมบทบาทของเอกชนที่จะเข้ามาช่วยดำเนินการพัฒนาให้กับสังคม โดยรัฐเข้าควบคุมแซกแซงในเรื่องที่จำเป็นและเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรี

ส่วนสังคมนิยมไม่เชื่อว่าจะมีการแข่งขันเสรีตลอดไปได้ เพราะตัวการแข่งขันเอง เมื่อดำเนินไปถึงขั้นตอนหนึ่งจะหนีการผูกขาดไม่พ้น

ซึ่งความแตกต่างระหว่าการพัฒนาแบบทุนนิยมและสังคมนิยมที่กล่าวมา ทำให้เกิดอคติว่าแนวทางหนึ่งดีกว่าอีกทางเลือกหนึ่งในทุกกรณี ในที่สุดเกิดการหลงทาง  ทางที่ดีก่อนจะเลือกหรือกำหนดรูปแบบและเงื่อนไขของการพัฒนา ควรจะได้วิเคราะห์ปัญหาของสังคมนั้นๆอย่างละเอียดก่อน แล้วจึงจะกำหนดยุทธศาสตร์และวิธีการพัฒนา

หากมองทั้ง 2 แนวทางอย่างไม่มีอคติ จะเห็นว่าแนวทางการพัฒนาทั้งสองแนวทาง มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ในการนำแนวทางใดแนวทางหนึ่งมาใช้ จึงมีทั้งที่ก่อให้เกิดปัญหาและส่งเสริมการพัฒนา ฉะนั้น การนำแนวทางพัฒนาทั้ง 2 แนวทางมาใช้ในลักษณะผสมผสาน จะเป็นทางออกที่ดี ก่อให้เกิดผลดีกับการพัฒนาประเทศมากที่สุด แต่ทั้งนี้ จะต้องนำสภาพและปัญหาของสังคมของประเทศมาประกอบการตัดสินใจด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                              สาระคำ

ยุทธศาตร์ คือ ทิศทาง นโยบาย และกระบวนการ ที่ตัดสินใจเลือกเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้สามารถสนองตอบความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีอนาคตเป็นตัวกำหนด

*********************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น