วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ

การศึกษาเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นตัวเร่งที่สำคัญที่สุด ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์เป็นทรัพยากรที่เอื้อต่อการพัฒนา 

ในขณะเดียวกัน หากมีการจัดการศึกษาแบบผิดๆ ไม่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และระบบการเมืองของประเทศ การศึกษาก็จะเป็นการเครื่องมือทำลายทรัพยากรมนุษย์ได้เช่นกัน

สำหรับแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศมีลักษณะดังนี้

1. ระบบการศึกษาและหลักสูตรไม่ควรลอกเลียนแบหรือนำเข้าจากต่างประเทศ หรือสังคมที่ต่างวัฒนธรรมออกไป แต่ควรสร้างขึ้นมาเอง เพื่อว่าระบบการศึกษาจะได้สนองตอบความต้องการและแก้ปัญหาที่ปรากฎอยู่ในสังคมได้มากขึ้น นั่นคือ ผู้สร้างหลักสูตรจต้องมีคำตอบเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้ก่อนที่จะสร้างหลักสูตร คือ

          1.1 จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่ประเทศต้องการคืออะไร ทั้งนี้เพื่อจะได้สร้างหลักสูตรให้สนองตอบความต้องการดังกล่าว

          1.2 เราต้องการให้เด็กของเราโตขึ้นเป็นพลเมืองประเภทใด

2. เป็นระบบการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนภูมิใจในชุมชน สังคมและประเทศชาติของตน เป็นการศึกษาที่สร้างความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม

3. ส่วนหนึ่งของหลักสูตรควรจะเน้นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ ปัญหาที่มีส่วนสร้างความทุกข์เข็ญให้กับประชาชนส่วนใหญ่ การศึกษาจะต้องสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาเหล่านั้น เช่น ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความยากจน การศึกษาจะต้องช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงสาเหตุ ตลอดจนแนวทางและทักษะในการแก้ปัญหาความยากจน  เป็นต้น

4. เป็นระบบการศึกษาที่เกื้อหนุนให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตัวเอง(self-reliance) โดยเชื่อว่าตนเองสามารถทำอะไรก็ได้ หากใช้ความพยายาม เชื่อว่าความสำเร็จของชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับโชคชะตาหรือพรหมลิขิต

5. เป็นระบบการศึกษาที่ส่งเสริมให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีทักษะที่จำเป็นต่อการที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

6. เป็นระบบการศึกษาที่มุ่งเพัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยม และสมรรถภาพในการทำงาน โดยเปลี่ยนค่านิยมในการทำงาน การเลือกงาน สามารถสร้างงานและประกอบอาชีพอิสระได้

7. เป็นระบบการศึกษาที่สร้างบุคลิคภาพเพื่อส่วนรวม(collective personality)  คือเป็นผู้มุ่งประโยชน์ส่วนรวมควบคู่ไปกับประโยชน์ส่วนตนเสมอ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรรม

8. เป็นระบบการศึกษาที่สร้างรูปแบบของพฤติกรรมใหม่ เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนา โรงเรียนจะต้องขยายขอบข่ายความเข้าใจและความสนใจของผู้เรียนให้กว้างขวางออกไป เน้นความคิด สถานที่ กิจกรรมและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะลดความสำคัญของอดีตลง ตลอดจนสิ่งต่างๆที่ประชาชนสัมพันธ์อยู่เองตามธรรมชาติ นอกจากนั้น โรงเรียนควรเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียน ซึ่งได้แก่การทำงาน เพื่อน ฯลฯ

9. เป็นระบบการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับการทำงาน ด้วยการรวมการเรียนการสอนเข้าเป็นหน่วยเดียวกับโลกของการทำงาน เน้นเนื่อหาที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติ เพื่อว่าผู้จบการศึกษาสามารถทำงานได้ทันทีหลังจากจบการศึกษา

หากประเทศจัดการศึกษาในแนวทางดังกล่าวนี้ จะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติเป็นส่วนรวม แต่หากจัดการศึกษาในลักษณะตรงกันข้าม จะเกิดความสูญเปล่า ที่ไม่อาจก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศเช่นกัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                                        สาระคำ

ทุนมนุษย์ เป็นพลังงาน ทักษะ พรสวรรค์ และความรู้ของประช่าชน ที่สามารถนำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
                                                                         Frederick  Harbison

*********************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น