วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทัศนคติกับการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน

นยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   การเรียนการสอนและโรงเรียนจะมีประสิทธิผลได้ก็ต่อเมื่อ  โรงเรียนพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง  โรงเรียนที่เปลี่ยนแปลงได้เร็วและทันกับการเปลียนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีเท่านั้น  จึงจะเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล คือบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  
แต่พบว่าแต่ละโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงเร็วช้าต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทัศนคติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของแต่ละโรงเรียนต่างกัน  ซึ่งทัศนคติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแบ่งได้ 4 แบบด้วยกัน กล่าวคือ

แบบที่ 1 เป็นโรงเรียนที่ครูไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยเห็นว่าได้พยายามเปลี่ยนแปลงแล้ว  แต่ล้มเหลว เพราะโรงเรียนรู้สึกว่าไม่มีอำนาจ การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดจากปัจจัยภายนอกมากกว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความจำเป็น แม้จะรู้สึกว่าไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมาก็ตาม เช่น การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เป็นต้น

แบบที่ 2 เป็นโรงเรียนที่เริ่มใช้นวัตกรรม  แต่เป็นการเริ่มใช้นวัตกรรมที่มีความแตกต่างอยู่มาก  นวัตกรรมถูกใช้ไม่เต็มที่  หรือไม่ได้ใช้ทั้งโรงเรียน  ต่างคนต่างพัฒนา  ต่างคนต่างใช้ ตามแนวคิดของตน  โดยปราศจากการวางแผนร่วมกัน จึงมีเป้าหมายในการใช้นวัตกรรมไม่สอดคล้องกัน  ครูมีการแบ่งแยกจึงล้มเหลวไปพร้อมกับนวัตกรรม

แบบที่ 3 เป็นโรงเรียนที่รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงไม่มีความจำเป็น  เพราะโรงเรียนมีความเป็นมาและประสบความสำเร็จที่น่าประทับในในอดีตอันยาวนาน ครู ผู้ปกครองนักเรียน เห็นว่าเมื่อโรงเรียนประสบความสำเร็จมานาน ย่อมเป็นเครื่องประกันว่าจะต้องมีความสำเร็จในอนาคต เพียงแต่โรงเรียนใช้วิธีทำงานแบบเดิมๆ  และรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก และเป็นเรื่องที่น่าสงสัย

แบบที่ 4 เป็นโรงเรียนที่มีความผสมกลมกลืนระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับความมั่นคง  โรงเรียนยอมรับการเปลี่ยนแปลง  และมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทิศทางการเปลี่ยนแปลงมีการวางแผนอย่างดี คณะครูมีความชัดเจนว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ และจะก้าวไปในทิศทางใด  ตลอดจนยอมรับแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกด้วยความเต็มใจ

ในบรรดาโรงเรียนทั้ง 4 แบบ  แบบที่ 4  เป็นแบบของโรงเรียนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี โรงเรียนแบบที่ 4 จึงเป็นลักษณะของโรงเรียนที่พึงประสงค์ในยุคของการเปลี่ยนแปลง
                           -------------------------------------------------------------------------------

                                                                สาระคำ

ทรัพยากรมนุษย์  เป็นพลังงาน ทักษะ และความรู้ของมนุษย์ ที่สามารถนำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการ  ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
                                                                                             Harbison
                                           ----------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น