วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียน

การศึกษาขั้นพื้นฐานนอกจากจะจัดในระบบโรงเรียนแล้ว ยังสามารถจัดในรูปแบบอื่น  ซึ่งได้แก่ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  แต่ปกติจะให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนมากกว่า
 
อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของการศึกษาในระบบ  ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย  ที่สำคัญคือ  ผู้จบการศึกษามีคุณถาพต่ำลง ขาดความรู้พื้นฐานและทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น

จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการศึกษา เกิดจากเหตุปัจจัยต่อไปนี้

การขาดแคลนทรัยากร  เพื่อสนองตอบทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้ต้องเพิ่มทรัพยากรทางการศึกษา ซึ่งได้แก่ครูบาอาจารย์  อาคารสถานที่  อุปกรณ์ทางการศึกษา  ตำราเรียนและงบประมาณ  จนทำให้เกิดการขาดแคลนอย่างรุนแรง  ไม่ทันต่อความต้องการทางการศึกษา  ทำให้ระบบการศึกษาเกิดข้อจำกัดมากมาย  ไม่สามารถสามารถสนองตอบความต้องการทางการศึกษาได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ

ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น  การมีทรัพยากรจำกัด  ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อหัวของผู้เรียนมีแนวโน้มสูงขึ้น  เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆของประเทศ  นอกจากนั้น การมีเงินเฟ้อในบางปะเทศ  มีผลกระทบต่องบประมาณทางการศึกษาและรายได้ของครูอาจารย์

ผลผลิตไม่มีความเหมาะสม  ความพยายามที่มุ่งสนองตอบความต้องการทางการศึกษา ทำให้การศึกษามีคุณภาพไม่ดีพอ  ผู้จบการศึกษาจากโรงเรียนในชนบทจะด้อยกว่าผู้จบการศึกษาในเมือง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะอ่อนด้อยวิชาที่เกี่ยวกับการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  และที่สำคัญคือไม่มีความรู้และทักษะตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร นอกจากนั้น ยังพบว่าผลผลิตทางการศึกษาไม่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

การบริหารการศึกษาขาดประสิทธิภาพ ระบบการศึกษาเอง ถ้าจะทำงานในลักษณะอย่างที่เคยทำมา จัดการศึกษาแบบเดิมซึ่งเคยได้ผล เช่น การบริหารหลักสูตร วิธีสอน  ฯลฯ แบบเดิมๆ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า  ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ๆ การทำอย่างที่เคยทำ กลายเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดผลที่แย่กว่าเดิม จนเกิดความเฉื่อยทางการศึกษา  มีผลกระทบต่อคุณภาพอย่างมาก

ความเฉื่อยทางสังคม ทัศนคติแบบเดิม ประเพณี ศักดิ์ศรี และรูปแบบของสิ่งล่อใจ  ตลอดจนโครงสร้างของสถาบันทางสังคม บางครั้ง กลายเป็นสิ่งปิดกั้นไม่ให้ใช้ประโยชน์จากระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศได้สูงสุด

การออกกลางคันและการซ้ำชั้น ปัญหาการออกกลางคันและการซ้ำชั้น  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ  เกิดขึ้นกับนักเรียนในชนบทมากกว่าในเมือง  โดยสาเหตุมาจากความยากจน หลักสูตรและการสอนที่ไม่เหมาะสม เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อนักเรียนส่วนน้อยที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ครูไม่ได้รับการฝึกอบรม ขาดวัสดุ ตำราเรียน  การออกกลางคัน และการซ้ำชั้นจึงเกิดขึ้น แต่อาจมีบางประเทศที่มีนโยบายไม่ให้มีการซ้ำชั้น ผลก็คือ นักเรียนอานหนังสือไม่ออก

ปัญหาที่กล่าวมา  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย จึงเป็นโอกาสดีของประเทศที่จะปฏิรูปการศึกษา ให้เป็นการศึกษาที่สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้อย่างดี  แต่การปฏิรูปจะต้องไม่มุ่งแต่การเพิ่มหรือลดหน่วยงานบริหารการศึกษาเพียงอย่างเดียวอย่างที่เคยทำมา แต่ควรให้ความสำคัญในการที่จะแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วอย่างจริงจัง  การปฏิรุปการศึกษาจึงจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
                              -------------------------------------------------------------------

                                                                  สาระคำ

ทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือตัวมนุษย์เอง  เป็นส่วนที่ติดตัวมาแต่กำเนิด กับทักษะและความสามารถของมนุษย์ ที่เกิดจากกาสร้างสมประสบการณ์ในภายหลัง
                                              ---------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น