วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ธรรมชาติของมนุษย์

นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มนุษย์ถูกมองในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักจิตวิทยาซึ่งต้องทำงานเกี่ยวกับมนุษย์ ได้พยายามศึกษาและวิเคราะห์มนุษย์ ได้มองเห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆดังนี้

         พลาโต  มองว่าธรรมชาติของมนุษย์  เกิดจากการที่มนุษย์ได้เรียนรู้จากสภาพแวดล้อม  และจิตมนุษย์เป็นตัวกำหนดให้ร่างกายดำเนินไปตามความต้องการ  ธรรมชาติของนุษย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความอยาก ซึ่งเป็นความต้องการทางร่างกายของมนุษย์ อารมณ์ เป็นความรู้สึกต่างๆของมนุษย์ เช่น ความกลัว ความเกลียด ความรัก ฯลฯ เหตุผล เป็นความสามารถในการใช้เหตุผล เป็นสติปัญญาของมนุษย์

         ฮอบส์ เห็นว่ามนุษย์มีธรรมชาติป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว โอ้อวด ยื้อแย่งกันโดยไม่มีขอบเขต เอาแต่ใจหยาบคาย ต่ำช้า และอายุสั้น  แต่เมื่อพบกับความทุกข์ยาก มนุษย์จะลดความเห็นแก่ตัว  และสังคมจะช่วยให้มนุษย์ดีขึ้น

        ลอค กลับมองว่า โดยธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เห็นแก่ตัว เป็นคนดี ส่วนที่มนุษย์ไม่ดีนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อม

        เลวิน พีอาเจท์ และ โคลเบอร์ก นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม เชื่อว่ามนุษย์เป็นผลผลิตของการปรับตัวในสภาพแวดล้อม

        ฮัลและสกินเนอร์ นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่ามนุษย์เป็นผลผลิตของการเรียนรู้

        โรเจอร์สและมาสโลว์ นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม  เชื่อว่ามนุษย์ดีได้ด้วยตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลผลิตของความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เอง

        ฟรอยด์และฟรอมม์ นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อเรื่องจิตและการวิเคราะห์จิต  ซึ่งเป็นพฤติกรรมภายใน

สรุปแล้ว มนุษย์มีธรรมชาติอย่างไร  คำตอบคือว่า ธรรมชาติทุกๆอย่างที่นักจิตวิทยากล่าวมา เป็นธรรมชาติโดยรวมของมนุษย์ ในลักษณะผสมผสาน และลักษณะใดจะมากน้อยขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล

การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ จะช่วยให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  แต่ความเชื่อที่ต่างกัน ทำให้มนุษย์เข้าใจตนเองและผู้อื่นตางกัน  เช่น  ถ้าเชื่อว่ามนุษย์ดี มนุษย์ก็เข้าใจว่าตนเองเป็นคนดี และคนอื่นก็เป็นคนดี ในทางตรงกันข้าม ถ้ามองว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่เลว จะเข้าใจว่าตนเองเป็นคนเลว และคนอื่นก็เป็นคนเลว ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ ยังมีผลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์โดยรวมอีกด้วย

                                -----------------------------------------------------------

                                                           สาระคิด

มนุษย์เหมือนจักรยาน จะรักษาดุลยภาพได้ก็ต่อเมื่อเคลื่อนไปข้างหน้า  การพยายามรักษาดุลยภาพ โดยให้จักรยายจอดนิ่งๆอยู่กับที่ จักรยานจะล้ม ไม่สามารถรักษาดุลยภาพได้

                                                                          มอลท์ซ
                                                    --------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น