วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของมนุษย์

มนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน   การเข้าใจถึงประเภทของมนุษย์  จะช่วยให้เข้าใจเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาชัดเจนขึ้น  เพราะมนุษย์บางประเภทสามารถพัฒนาตนเองได้ด้วยตนเอง  แต่มนุษย์บางประเภทต้องอาศัยคนอื่นช่วย  เพราะการอาศัยตนเองเพียงลำพังนั้นมีศักยภาพไม่เพียงพอ

คำว่า"มนุษย์" ตามความหมายทางพระพุทธศานา  มีความหมายหลายอย่าง เช่น ผู้มีจิตใจสูง ผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ผู้เป็นเหล่ากอของผู้รู้  ผู้ที่เป็นมนุษย์ได้ จะต้องอาศัยธรรมะของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ศีล 5 และกุศลธรรมบถ 10 ผู้ใดขาดธรรมทั้ง 2 หมวดนี้ จัดว่าเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์

ในทางพระพุทธศานาแบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

          1.มนุสสเนรยิโก(มนุษย์สัตว์นรก) เป็นมนุษย์ทีดุร้ายหยาบคาย  ชอบฆ่าสัตวตัดชีวิต ปล้นทรัย์สินผู้อื่นมาเป็นของตนด้วยอาการดุร้าย  เป็นมนุษย์แต่ชื่อ ส่วนความประพฤติทางกาย วาจา ใจ นั้นเลวทรามต่ำช้าหยาบคายเหมือนสัตว์นรก

          2.มนุสสเปโต(มนุษย์เปรต)  เป็นมนุษย์ที่มากด้วยความโลภ  มากด้วยตัณหา  ชอบลักเล็กขโมยน้อย โลภเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน ชอบแย่งชิงวิ่งราว

          3.มนุสสดิรัจฉาโน(มนุษย์ดิรัจฉาน) ได้แก่มนุษย์ที่ขวางศีลขวางธรรม มีโมหะคือ ความหลง ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ไม่รู้จักประโยชน์และบุญคุณของผู้มีคุณ  เป็นมนุษย์ผู้ไร้ศีลธรรม

          4.มนุสสภูโต(มนุษย์แท้ๆ) เป็นมนุษย์เต็มตัว เป็นผู้รักษาศีล 5 เป็นนิตย์ เพราะถือว่าเป็นธรรมะของมนุษย์ ธรรมะที่ทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์  แต่ไม่ได้บำเพ็ญกุศลจริยาอย่างอื่น  เช่น ไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้ฟังธรรมเป็นต้น

          5.มนุสสเทโว(มนุษย์เทวดา)  เป็นมนุษย์ผู้มีศีล 5 เป็นนิตย์  แล้วยังได้พยายามบำเพ็ญกุศลเพิ่มพูนบารมีอยู่เรื่อยๆ เช่น ให้ทาน ฟังธรรม เรียนธรรม ปฏิบัตธรรม ไหว้พระสวดมนต์  มีความสะดุ้งกลัวต่อผลแห่งบาปอยู่เสมอ

มนุษย์ทั้ง 5 ประเภท เป็นมนุษย์ที่จะต้องมีการพัฒนา แต่มนุษย์ประเภทที่พัฒนาตนเองได้และมีศักยภาพเพียงพอ ได้แก่ มนุสสภูโต มนุสสเทโว ส่วนมนุสสเนรยิโก มนุสสเปโต และมนุสสดิรัจฉาโน จำเป็นจะต้องอาศัยบุคคลอืนช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาตน
                                    ---------------------------------------------------------------

                                                                        สาระคำ

คำว่า "ภาวนา"มีความหมายตรงกับคำว่า "พัฒนา" คำว่า ภาวนา จึงหมายถึง การฝึกอบรม หรือ
การทำให้เจริญขึ้น ทำให้พอกพูนขึ้น

                                                                           พระราชวรมุนี
                                                   ------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น