วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาอุดมศึกษาไทย

ศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม อารีกุล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "อุดมศึกษาไทย:วิกฤตและทางออก" ได้ศึกษาวิจัยอุดมศึกษาไทย พบว่า

1. สภาสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย มีบทบาทในการพัฒนาสมรรถภาพและประสิทธิภาพของสถาบันนั้นๆ พบว่าสภาสถาบันมีปัญหา ดังนี้
                     1.1 องค์ประกอบของกรรมการสภาในบางสถาบัน ทำให้เกิดปัญหาการครอบงำทางความคิดของบุคคลในสถาบัน
                      1.2 สถาบันเลือกบุคคลภายนอกมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวงจำกัด โดยเลือกเฉพาะบุคคลที่รู้จักและมีชื่อเสียง
                      1.3 การประชุมสภาใช้เวลาส่วนใหญ่พิจารณาแต่เรื่องภายในสถาบัน โดยไม่ใช้เวลาพูดถึงนโยบายหรือแนวทางในการพัฒนาสถาบัน
                      1.4 สภาไม่ใช้อำนาจออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าของสถาบัน

2. การแบ่งส่วนราชการและโครงสร้างการบริหาร  โครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยถอดแบบมาจากตะวันตก คือแบ่งเป็น ภาควิชา คณะ สถาบัน เป็นต้น  พบว่ามีการแบ่งภาควิชา และคณะมากเกินจำเป็น ทำให้เกิดการแบ่งแยก ยากที่จะ ประสานความร่วมมือ ประสานวิชา และประสานหลักสูตร

3. ผู้บริหาร ผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาไทยเกือบทุกระดับ และเกือบทั้งหมดไม่ได้เรียนมาทางด้านบริหาร การบริหารในมหาวิทยาลัยจึงใช้ประสบการณ์เป็นหลัก  ปัญหาเกี่ยวกับผู้บริหารมีดังนี้
                           3.1 การสรรหาผู้บริหาร ใช้ระบบเลือกตั้งเป็นหลัก ทำให้เกิดความแตกแยก ขาดความร่วมมือที่จะพัฒนาสถาบันให้ก้าวหน้า
                           3.2 ผู้บริหารไม่มีระบบ มักจะถูกชักนำจากข้าราชการชั้นผู้น้อย
                           3.3 การบริหารจัดการไม่ดี ใช้กำลังคณาจารย์เกินความจำเป็น และไม่ได้ประโยชน์คุ้มค่า เช่น มหาวิทยาลัยบางแห่งแต่งตั้งรองอธิการบดีถึง 15 คน และพบว่า ได้สูญเสียอาจารย์ไปทำหน้าที่บริหารมากว่าร้อยละ 30
                           3.4 สถาบันอุดมศึกษามีความอ่อนแอภายใน เนื่องจากมีความขัดแย้ง และขาดความสามัคคี
                           3.5 ผู้บริหารทุกระดับ ตั้งแต่อธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการหน่วยงาน ตลอดจนหัวหน้าภาควิชา ไม่สามารถจัดการหรือกำกับดูแลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพได้

4. หลักสูตร หลักสูตรโดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายคลึง และค่อนข้างจะซ้ำซ้อน ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรมีดังนี้
                            4.1 หลักสูตรขาดความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเลียนแบบซึ่งกันและกัน  มีความคล้ายคลึงกัน
                            4.2 หลักสูตรขาดความยืดหยุ่น ไม่เปิดโอดาสให้นักศึกษาเลือกเรียนได้อย่างเสรีเพียงพอ
                            4.3 หลักสูตรจำนวนมากลอกเลียนหรืออ้างอิงจากต่างประเทศเป็นหลัก ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
                            4.4 หลักสูตรไม่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดความคิดเชิงบูรณาการ
                            4.5 หลักสูตรล้าสมัย อาจารย์ไม่เข้าใจการปรับหลักสูตร  ให้เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

5. คุณภาพของอาจารย์และการเรียนการสอน คุณภาพของอาจารย์ คือคุณภาพของการเรียนการสอน เกี่ยวกับคุณภาพของอาจารย์และการเรียนการสอนมีดังนี้
                            5.1 อาจารย์มีคุณภาพด้านการสอนและผลงานวิจัยมีจำนวนน้อย
                            5.2 ตำราอันเป็นสื่อการสอนหลักมีคุณภาพต่ำ
                            5.3 การลงทุนการวิจัยมีน้อย  ทำให้องค์ความรู้ไทยมีน้อย
                            5.4 อาจารย์มีวิธีสอนแบเดิมๆ คือถ่ายทอดความรู้ มากว่าการสร้างวิจาณญาณและคิดสร้างสรร ยิ่งมีจำนวนนักศึกษามากขึ้น มีแนวโน้มว่าคุณภาพจะด้อยลง
                            5.5 ขาดกลไกการพัฒนาคุณภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

6. การวิจัย รัฐลงทุนเพื่อการวิจัยต่ำ  ทำให้สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจด้านการวิจัย เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่จะใช้ในการพัฒนาประเทศ

ความจริงปัญหาอุดมศึกษาไทยดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่คนในวงการอุดมศึกษารับรู้เป็นอย่างดี  แต่ไม่พบว่ามีการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้ น่าจะมีเหตุจาก การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารที่ไม่เหมาะสม ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และมีการใช้เสรีภาพทางวิชาการในลักษณะที่บิดเบือน 
                            ----------------------------------------------------------------------------------

                                                                          สาระคิด

                                         คนมีปัญญาที่เห็นแก่ตัว  สู้คนโง่ที่ทำเพื่อส่วนรวมไม่ได้
                                                                                            สามก๊ก
                                         -----------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น