การเมืองก็เหมือนกับระบบอื่นๆ ถ้าต้องการจะแสดงถึงความชัดเจนว่ามีการพัฒนาไปมากน้อยเพียงใด เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ก็ต้องมีดัชนีชี้วัด
สำหรับดัชนีชี้วัดเสรีภาพทางการเมืองมี 4 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย
1. การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political participation) หมายถึง เสรีภาพในการเข้าไปมีส่วนร่วม ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเมืองในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
2. ปกครองโดยกฎหมาย (Rule of law) มีการใช้กระบวนการทางกฎหมายคุ้มครองสิทธิของแต่ละบุคคลในการมีชีวิตอยู่ ความมีอิสระภาพ และความมั่นคง
3. เสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of expression) บุคคลมีเสรีภาพในการแสวงหา รับ และหรือเผยแพร่ สารสนเทศและแนวความคิด ทั้งโดยวาจา การเขียน หรือโดยอาศัยสื่ออื่นๆ โดยปราศจาการกำหนดของรัฐ เว้นแต่เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ ความเป็นระเบียบของสาธาณะ สุขภาพของสาธารณะ หรือเพื่อปกป้องสิทธิ หรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
4. ไม่มีการจำแนก (Non-discrimination) บุคคลมีความเสมอภาคในโอกาส โดยไม่คำนึงถึง เพศ ศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์ ถิ่นกำเนิด ภาษา หรือ ฐานะ
แต่จากการศึกษา พบว่า ไม่มีประเทศใดในโลก ที่ประชาชนมีเสรีภาพเต็มร้อย
สำหรับประเทศไทย ถ้าศึกษาจากการบริหารบ้านเมืองในยุคสมัยที่อ้างว่าเป็นการบริหารประเทศโดยระบอบประชาธิปไตย เป็นที่น่าสงสัยว่า มีการใช้เสรีภาพตามดัชนีชี้วัดหรือไม่ เพราะเริ่มตั้งแต่เข้าสู่อำนาจด้วยการซื้อสิทธิขายเสียง เมื่อมีอำนาจก็มีการแทรกแซงองค์กรอิสระ เริ่มตั้งแต่การสรรหาจนถึงการทำหน้าที่ เพื่อให่เกิดประโยชน์ตนและพวกพ้อง มีการใช้กฎหมายเพื่อทำลายฝ่ายตรงกันข้าม มีการแก้ไขกฎเกณฑ์กติกาเพื่อให้เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจของตนและพวกพ้อง มีการปลุกระดมมวลชนเพื่อห้ำหั่นผู้ที่มีความคิดต่าง ไม่เปิดให้ผู้มีความคิดต่างได้ใช้สื่อของรัฐ ตลอดจนมีการเอื้อประโยชน์ให้กับสื่อที่สนับสนุนฝ่ายตน ฯลฯ
จึงขอถามว่า ที่ผ่านมาการใช้เสรีภาพทางการเมืองของไทย เป็นไปตามดัชนีชี้วัดทั้ง 4 กลุ่มหรือไม่ มีการใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบหรือไม่ ถ้าไม่จะต้องแก้ไขกันอย่างไร?
-----------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
เสรีภาพที่ขาดความรับผิดชอบ นำไปสู่ความหายนะทางการเมือง
-------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น