วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แรงงานกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

แรงงานเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ ที่มีความสำคัญต่อการผลิตและกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะปริมาณของแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน ความตั้งใจในการทำงาน ตลอดจน ความสามารถและประสิทธิภาพของแรงงาน จะเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลผลิตและระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจ

นอกจากนั้น แรงงานไม่เป็นแต่เพียงปัจจัยการผลิตเท่านั้น แต่ปัจจัยการผลิตอื่นๆ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต ฯลฯ จะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตได้เลย หากไม่มีแรงงานเป็นส่วนประกอบในการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะ มีความชำนาญในสาขาต่างๆ เช่น ทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การจัดการ การตลาด การเงิน และการบัญชี เป็นต้น

แรงานในระบบเศรษฐกิจ เป็นบุคคลที่ทำงานประกอบอาชีพในการผลิตสินค้าและบริการ แรงงานมีตั้งแต่ผู้ที่ทำงานโดยใช้ความรู้ความสามารถระดับสูง จนถึงผู้ที่ทำงานด้วยการใช้แรงกายและงานไร้ฝีมืออื่นๆ

ในการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพของแรงงานมีความสำคัญมาก เพราะถ้าแรงงานมีคุณภาพสูง การพัฒนาเศรษฐกิจก็จะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับคุณภาพของแรงงานขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

          1) ความเหมาะสมทางกายภาพ ความเหมาะสมทางกายภาพของแรงาน มีผลมาจากแรงงานได้รับการดูแลอย่างดี  มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีอาหารเพียงพอ มีที่อยู่อาศัยที่ดี มีเครื่องพักผ่อ่นอย่อนใจ  และมีบริการสาธาณะสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพ แต่ประเทศด้อยพัฒนามักจะจะขาดปัจจัยที่จำเป็นเหล่านี้ จนส่งผลกระทบต่อแรงงานของประเทศ

         2) การพัฒนาทางด้า่นสติปัญญา คุณภาพด้านสติปัญญา มีความสำคัญต่อแรงงานมาก เพราะแรงงานที่มีสติปัญญาจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสติปัญญาของแรงงาน สามารถทำได้ด้วยการฝึกอบรม

          3) ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา แรงงานที่มีคุณภาพ จะต้องได้รับการกระตุ้นให้มีความปรารถนาที่จะทำงานด้วยความเต็มใจ มีความกระตือรือร้นที่จะมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น

         4) การจัดองค์การที่เหมาะสม  การจัดองค์การทางด้านแรงงานที่เหมาะสม จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน ทำให้การใช้แรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จะเห็นว่าในการพัฒนาเศรษฐกิจ  แรงงานมีบทบาทสำคัญ  เพราะหากไม่มีแรงงานการผลิตสินค้าและบริการจะเกิดขึ้นไม่ได้ อย่างไรก็ตาม แรงงานจะต้องได้รับการดูแลและได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้แรงงานที่คุณภาพ อันจะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปได้ด้วยดี
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                                      สาระคำ

กำลังคน(Man power)  หมายถึง บุคคลที่ทำงานประกอบอาชีพสาขาต่างๆ นับตั้งแต่ผู้ที่ใช้ความรู้ความชำนาญอย่างสูง เช่น นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ฯลฯ จนถึงผู้ที่ทำงานด้วยแรงกาย อันได้แก่กรรมกรและคนงานไร้ฝีมืออื่นๆ

กำลังแรงงาน(Labour force) หมายถึง ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ทั้งผู้ที่มีงานทำและไม่มีงานทำ แต่ประสงค์จะทำงานและสามารถทำงานได้

*********************************************************************************



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น