วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทฤษฎีทุนมนุษย์กับการพัฒนา

จากประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอันยาวนาน บอกให้ทราบว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมนุษย์เป็นผู้ใช้ทักษะและความสามารถ ทำให้เกิดเครื่องจักร สินค้า และบริการ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และยังพบว่า ปัจจัยเชิงมนุษย์เป็นแหล่งเพิ่มรายได้ส่วนบุคคล ผลิตภาพของสถาบัน และรายได้ประชาชาติที่สำคัญ

ในขณะที่ทฤษฎีการทำให้ทันสมัย เป็นความคิดของของนักสังคมวิทยาและนักจิตวิทยาสังคม โดยเน้นที่ค่านิยมและทัศนคติของแต่ละบุคคล นักเศรษฐศาสตร์ก็ได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาของตนเองขึ้นมา คือ ทฤษฎีทุนมนุษย์(Human Capital Theory) ซึ่งเน้นที่สมรรถนะในการผลิตของทรัพยากรมนุษย์   โดยเชื่อว่า หนทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ อยู่ที่การปรับปรุงประชากรให้ดีขึ้น

ผู้ที่กล่าวถึงทุนมนุษย์เป็นคนแรก คือ Theodore Schultz ซึ่งกล่าวต่อสมาคมนักเศษฐศาตร์อเมริกัน ในหัวข้อเรื่อง Investment in Human Capital (การลงทุนในมนุษย์)โดยเขามีความเห็นว่า ไม่ควรมองว่าการศึกษาเป็นเพียงการบริโภครูปแบบหนึ่ง แต่ควรมองว่าเป็นการลงทุนเพื่อการผลิตด้วย เพราะประชากรที่มีการศึกษา ทำให้มีกำลังแรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

นอกจาก Schultz แล้ว นัดเศรษฐศาสตร์คนอื่นๆที่มีส่วนในการสร้างทฤษฎีทุนมนุษย์ขึ้นมา ได้แก่ DennisonBecker และ Rubenson

Dennison ด้เขียนหนังสือชื่อ The sources of Economic Growth in the United states (แหล่งเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐ) ซึ่งมีอิทธิพลทำให้การลงทุนทางการศึกษากับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์มากขึ้น หนังสือเล่มนี้คู่กับผลงานของ Schultz ได้ส่งผลต่อกระทบต่อการกำหนดนโยบายทางการศึกษาทั่วโลก

ทฤษฎีทุนมนุษย์ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า การศึกษาในระบบเป็นเครื่องมือที่สำคัญ และจำเป็นต่อการปรับปรุงสมรรถนะในการผลิตของประชากรให้ดีขึ้น ประชากรที่มีการศึกษาจะเป็นประชากรที่มีความสามารถในการผลิต

นักทฤษฎีทุนมนุษย์เชื่อว่า การเจริญเเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากปัจัจย 2 ประการต่อไปนี้ คือ

ประการแรก การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีให้สูงขึ้น  เพราะเทคโนโลยีระดับสูงทำให้การผลิตเพิ่มมากขึ้น

ประการที่ 2 ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการมีทักษะและแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการผลิต

นักทฤษฎีทุนมนุษย์เชื่อว่า การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนเพื่อผลิตภาพของมนุษย์ สำหรับปัจจัยอื่นที่ช่วยให้เกิดประโยชน์จาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย สุขภาพดี ความเป็นอยู่ดี เป็นต้น

ทฤษฎีทุนมนุษย์เหมือนกับทฤษฎีการทำไให้ทันสมัยในแง่ที่ว่า กุญแจสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ ลักษณะของแต่ละบุคคลที่ได้รับการพัฒนาโดยอาศัยกระบวนการทางการศึกษา

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีทุนมนุษย์ได้รับการยอมรับอย่างจริงจัง เมื่อ Sobel ได้รวมเอา เศรษฐศาสตร์การศึกษา เศรษฐศาสตร์การจำแนก และเศรษฐศาสตร์ความยากไร้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาค ในชื่อว่า เศรษฐศาสตร์ทรัยากรมนุษย์ ทำให้สามารถครอบคลุมทั้งในเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายโอกาสทางการศึกษา มีผลทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในโอกาสของการมีรายได้และอำนาจในที่สุด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                                สาระคำ

การเจิญเติบโทางเศรษฐกิจ หมายถึง ผลผลิตที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากมีการขยายต้วของกำลังการผลิต

การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อันมีผลให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

ประเทศด้อยพัฒนา หมายถึง ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ยากจน และยากจนมาเป้นเวลานาน ความยากจนนี้มิได้เกิดจากการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติหรือแรงงาน แต่เกิดจากไม่สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

*********************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น