วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์ ความขัดแย้งนับเป็นโอกาส  แต่เป็นโอกาสที่อันตราย ในแง่ที่ว่า อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต้องพังทลายลง

ความขัดแย้งสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด กล่าวคือ

     1. ความขัดแย้งทางอารมณ์ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากสถานการณ์หรือเหตุการณ์ หรือการกระทำ ที่ทำให้เกิดจากความรู้สึกไม่พอใจ

     2. ความขัดแย้งทางค่านิยม เป็นความขัดแย้งที่เกิดจาก การเห็นความสำคัญหรือคุณค่า หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ต่างกัน

     3. ความขัดแย้งทางความต้องการ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากความต้องการที่ต่างกัน จะเป็นความต้องการเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้

เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น จำเป็นจะต้องมีการแก้ไข เพื่อไม่ให้ลุกลามใหญ่โตจนเสียความสัมพันธ์ที่เคยมีต่อกัน

สำหรับวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งสามารถทำได้ดังนี้

          1. ปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยการยอมรับ เป็นการให้การยอมรับคนอื่นด้วยกริยาท่าทางอ่อนน้อมสุภาพ ระมัดระวังในการใช้เสียง รู้จักเลือกใช้คำ ตลอดจนเป็นคนมีเหตุผล

          2. ฟังจนกระทั่งเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่แย่งพูดหรือพูดแทรกขึ้นมา ทั้งๆที่ฟังยังไม่จบเนื้อหากระบวนความที่อีกฝ่ายต้องการจะบอก จนทำให้จับเนื้อหาผิดพลาด

          3. แสดงให้เห็นถึงทัศนะ ความต้องการ และความรู้สึกของตน เพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจถึงความต้องการ อารมณ์ หรือค่านิยมที่แท้จริงของตน

ความขัดแย้งสามาถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวแล้ว บางครั้งเป็นความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ ซึ่งความขัดแย้งในลักษณะนี้  สามารถจะแก้ไขได้ด้วยการเจรจาต่อรอง

ซึ่งการเจรจาต่อรองทำได้ ใน 3 ลักษณะ กล่าวคือ

            1. แบบนุ่มนวล เป็นการเจรจาต่อรองที่หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และหาข้อยุติให้เร็วที่สุด แต่คู่เจรจาจะต้องยอมเสียประโยชน์บ้าง

            2. แบบยืนยัน เป็นการเจรจาต่อรองที่หวังจะเอาชนะทั้ง 2 ฝ่าย แต่วิธีนี้อาจมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่ายอย่างรุนแรง

            3. แบบหลักการ เป็นการเจรจาต่อรอง ที่ต้องการให้เกิดการตัดสินที่เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนมาตรฐานที่ยุติธรรม

จะเห็นว่า  เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจะต้องมีการแก้ไข เพื่อไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์ ซึ่งวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ง่ายที่สุด คือการคุยหรือเจรจรจากัน ด้วยความสุภาพ ใช้เหตุผล และตั้งอยู่บนมาตรฐานที่ยุติธรรม
                ---------------------------------------------------------------------------

                                                              สาระคิด

                                   Treat others as you would have them treat you.
                      -------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น