วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประขาธิปไตยบ้านเรา:ภาคแรก

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยบ้านเรา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 นับถึงปัจจุบัน ก็เป็นเวลาแปดสิบกว่าปี  แต่ประชาชนส่วนหนึ่ง ก็ยังเห็นว่าประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  ล้มลุกคลุกคลาน มีการทำรัฐประหารควบคู่กับการเลือกตั้งเสมอมา ล่าสุดเกิดปรากฏการณ์ เสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อหลากสี หน้ากากขาว ฯลฯ

ม็อบเหล่านี้ส่วนหนึ่งต้องการขับไล่ พตท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะเชื่อว่า พตท.ทักษิณ บริหารประเทศแบบคณาธิปไตย คือพรรคพวกและคณาญาติเป็นใหญ่  มีการทุจริตอย่างกว้างขวาง

ม็อบอีกส่วนหนึ่งต้องการให้ พตท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมา เพราะเชื่อว่าพตท.ทักษิณเป็นเสาหลักและสัญญลักษณ์ของประชาธิปไตย และเรียกร้องให้ประเทศมี"ประชาธิปไตยที่แท้จริง"

โดยสรุป ก็คือว่า ทั้งสองฝ่ายต้องการการปกครองแบบประชาธิปไตย  เพราะเชื่อว่าที่เป็นอยู่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ในทางรัฐศาสตร์ การจะเป็นประชาธิปไตย   จะต้องยึดหลัก 5 หลักต่อไปนี้

หลักหนึ่ง คือหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนจะแสดงความเป็นเจ้าของประชาธิปไตย  โดยใช้สิทธิ์ในการกำหนดผู้ปกครอง โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง

หลักสอง คือหลักเสรีภาพ เป็นหลักที่ประกอบด้วย เสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพในทรัพย์สิน เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ และเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

หลักสาม คือหลักเสมอภาค ประกอบด้วบ ความเสมอภาคทางการเมือง เป็นความเท่าเทียมกันในการใช้สิทธิ์ทางการเมือง ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ เป็นความเท่าเทียมกันในการประกอบอาชีพตามความรู้ความสามารถ และความเสมอภาคทางสังคม เป็นความเท่าเทียมกันในโอกาสที่จะรับบริการจากรัฐ

หลักสี่ คือหลักกฎหมาย เป็นการปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย กล่าวคือในการปกครองแบบประชาธิปไตย กฎหมายจะต้องมีที่มาที่ชอบธรรม  การบังคับใช้กฎหมายต้องเสมอภาคเท่าเทียมกัน  และประชาชนต้องได้รับความคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค

หลักห้าคือหลักเสียงข้างมาก ในการตัดสินใจใดๆ ต้องยึดเสียงข้างมากเป็นหลัก และเคารพเสียงส่วนน้อย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

ประเทศประชาธิปไตยไหนๆก็ยึดหลัก 5 หลักดังกล่าวนี้  และต้องยึดถือปฏิบัติให้ครบทั้ง 5 หลัก ขาดหลักใดหลักหนึ่งไม่ได้ ถ้าขาดก็ไม่เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย

ขณะเดียวกันหากให้ความสำคัญกับหลักใดหลักหนึ่งมากเกินไป เช่นให้ความสำคัญกับหลักเสรีภาพมากเกินไป  หลักกฎหมายก็หย่อนยาน

นั่นคือต้องให้หลัก 5 หลักอย่างผสมผสานกลมกลืน มีดุลยภาพ  และที่สำคัญต้องเพื่ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่

ส่วนรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น มีหลายรูปแบบ ที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ก็มี  ที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประธานาธิบบดีเป็นประมุข ก็มี และที่ประธานาธิบดีเป็นทั้งผู้บริหารและเป็นประมุข ก็มี  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศนั้นๆ

ก็ต้องช่วยกันวิเราะห์ดูว่า ปัจจุบันนี้การปกครองของไทยใช้หลักประชาธิปไตยครบทั้ง 5 หลักอย่างมีดุลยภาพแล้วหรือยัง  ถ้ายัง เป็นเพราะเหตุใด
                                     -----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น