วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รูปแบบการศึกษา

เป็นหน้าที่ของการศึกษาที่จะต้องจัดการให้คนในสังคม ได้มีความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพที่จำเป็น  เพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม  ซึ่งวิธีการที่คนในสังคมจะได้ความรู้  ทักษะ และสมรรภาพดังกล่าวนั้น มีหลายวิธี  มีหลายกระบวนการ มีทั้งที่จัดเป็นรูปองค์กรเป็นทางการ เพื่อทำหน้าที่ให้การศึกษาโดยเฉพาะ ก็มี หรือเรียนรู้เอาจากสภาวะแวดล้อม หรือสื่อต่างๆโดยทางอ้อม ก็มี รูปแบบการศึกษาสามารถ จำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

การศึกษาในระบบ (Formal Education)  เป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน วิทยาลัย  และมหาวิทยาลัย  เป็นรูปแบบการศึกษาที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ  เป็นรูปแบบการศึกษาที่มีการกำหนดอายุ มีการเรียนเต็มเวลา  มีการแบ่งการเรียนออกเป็นระดับชั้นต่างๆ โดยมุ่งสู่การได้รับประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หรือวุฒิบัตรอื่นๆ  เป็นรูปแบบการศึกษาเพื่อคนหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่  ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามรูปแบบนี้สามารถวัดได้ และผู้จบการศึกษาจะมีลักษณะคล้ายๆกัน

ปกติเมื่อพูดถึงการศึกษา คนส่วนใหญ่มักจะหมายถึงการศึกษาในระบบนี่เอง  เพราะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์ เป็นเครื่องมือในการสร้างชนชั้นนำ เป็นตัวกำหนดความมั่งคั่ง สถานภาพ และอำนาจ  อย่างไรก็ตาม  การศึกษานั้นมีทั้งพลังสร้างสรรค์และพลังทำลาย  จึงเป็นไปได้ที่การศึกษาในระบบจะสร้างลักษณะที่ไม่ดี ไม่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในสังคม

การศึกษานอกระบบ (Informal Education)  เป็นการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นรูปแบบการศึกษาที่ถือเอาความยืดหยุ่นเป็นสำคัญ  เป็นการศึกษาระบบเปิด ที่จัดการศึกษาในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องการรับเข้าเรียน หลักสูตร สถานที่เรียน วิธีสอน และระยะเวลา เป็นการศึกษาที่สร้าง ความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพให้กับบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบนั้น มีองค์กรที่รับผิดชอบหลายองค์กรทั้งที่เป็นของรัฐและของเอกชน ค่าใช้จ่าย ผู้เรียน และผู้จบการศึกษา ไม่อาจกำหนดได้แน่นอน บ้างก็เตรียมคนเพื่อการประกอบอาชีพ  บ้างก็เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ด้อยโอกาสที่พลาดโอกาสจากการการศึกษาในระบบ  ตลอดจนช่วยแก้ไขความผิดพลาดที่การศึกษาในระบบสร้างขึ้น

มีความเข้าใจผิดว่า การศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาสำหรับคนจน คนด้อยโอกาส หรือเหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น แต่ความเป็นจริง ประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็มีโปรแกรมและกิจกรรมของการศึกษานอกระบบอย่างกว้างขวางและหลากหลาย  ทั้งนี้ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม  และเทคโนโลยี

การศึกษาแบบปกติวิสัย(Informal Edcation) หรือการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาไม่มีระบบ เป็นกระบวนการศึกษาตลอดชีวิต เป็นการศึกษาที่เป็นอิทธิพลจากทางบ้าน สังคม  สื่อต่างๆ ภาพยนต์ และองค์กรอื่นๆโดยทางอ้อม  บางครั้งก็รับไปโดยไม่รู้ตัว เป็นรูปแบบการศึกษาที่สำคัญมากอย่างหนึ่งแม้จะไม่ได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ก็ตาม  ทั้งนี้ เพราะการศึกษาแบบปกติวิสัย ช่วยสร้างสม เจตคดิ
ค่านิยม ทักษะ  ความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้ในชีวิตประจำวันแต่ละวันนั่นเอง

การศึกษาทั้ง 3 รูปแบบนี้ มีความเหมือนกันและต่างกัน  สำหรับความแตกต่างระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ กับการศึกษาแบบปกติวิสับนั้น จะเห็นได้จากการจัดองค์กรและลักษณะการเรียนรู้ ส่วนการศึกษาแบบปกติวิสัยนั้น จัดขึ้นโดยไม่มุ่งให้เกิการเรียนรู้เฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เป็ผลพลอยได้  เป็นการรับการศึกษาโดยทางอ้อม ส่วนการจัดองค์กรนั้น การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ มีการจัดองค์กรและกำหนดทิศทางอย่างมีเป้าหมาย  เป็นการจัดการศึกษาแบบตั้งใจ  ส่วนการศึกษาแบบปกติวิสัยนั้นส่วนมากไม่มีการจัดองค์กรที่ชัดเจน  และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้

มีอย่างไรก็ตาม   เมื่อดูจากรูปแบบของการศึกษาแล้วจะพบว่า สมาชิกในสังคมทุกคนล้วนได้รับการศึกษา เพียงแต่ว่าเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบ หรือเป็นการศึกษาแบบปกติวิสัย  แต่ละรูปแบบมีทั้งจุดแข็งและข้อจำกัด รูปแบบเหล่านี้ มีทั้งส่วนที่ทำให้สมบูรณ์ มีส่วนที่ส่งเสริม และมีส่วนที่จูงใจซึ่งกันและกัน
                                                     ---------------------------------------------

                                                                                 สาระคำ

             การเรียนรู้  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจากการ มีประสบการณ์
             ความรู้  หมายถึง  ผลบวกของประสบการณ์
            ประสบการณ์  หมายถึง  ผลที่ได้จาการการสัมผัส  ด้วยอวัยวะสัมผัส
                                                                          -----------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น