วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โลกาภิวัตน์เพื่อใคร

เพื่อให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของโลกาภิวัตน์ จึงได้จัดให้มีสถาบันโลกขึ้น เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก องค์การค้าโลก  เป็นต้น   เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางให้กับประเทศกำลังพัฒนา
  
แต่ในทางปฏิบัติ  นโยบายเหล่านั้น สถาบันโลกเหล่านั้น  มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศที่ร่ำรวยมากกว่า  เพราะประเทศร่ำรวยมีอิทธิพลเหนือสถาบันเหล่านั้น

เพราะนโยบายต่างๆ ถูกกำหนดจากประเทศที่รำรวยฝ่ายเดียว  แต่นำไปใช้ทั่วโลก  ทำให้ประเทศกำลังพัฒนา  ไม่สามารถเลือกใช้นโยบายที่เหมาะสมกับความจำเป็นของประเทศของตนได้  ผลก็คือ ประเทศกำลังพัฒนา  ต้องพบกับความยากลำบากอย่างมาก  ในการที่จะนำประเทศผ่านกระแสโลกาภิวัตน์ที่ไหลทะลักเข้ามาอย่างรุนแรง

ในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ถือว่าเป็นทศวรรษแห่งความคับข้องใจ  หลายประเทศต้องรับประทานยาขม ที่ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศยื่นให้  เศรษฐกิจสังคมนิยมต้องล่มสลายไป   เศรษฐกิจของประเทศในอาเซีย เช่น เกาหลีใต้ ไทย และมาเลเซีย  ซึ่งเคยได้รับการยกย่องก่อนหน้านี้ว่า  มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าอัศจรรย์  ต้องเผชิญกับภาวะขายหน้า  เนื่องจากเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจขึ้นในปี ค.ศ. 1997  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกาภิวัตน์กำลังเฟื่องฟูเป็นที่รับรู้กันทั่วโลก

คำถามจึงมีว่า  ถ้าโลกาภิวัตน์ช่วยเกื้อกูลประเทศที่ยากจนได้จริง  ทำไมจึงเกิดวิกฤติในประเทศเหล่านั้น

หลายประเทศ ที่เปิดประเทศให้สินค้าและเงินทุนไหลเข้าอย่างเสรี ผลที่ตามมา ก็คือเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินการคลัง  และได้รับการปฏิบัติอย่างน่าผิดหวังจากธนาคารโลก  และกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเวลาถัดไป

ในปี ค.ศ. 1990 ประเทศแถบอเมริกาลาติน  ซึ่งเปิดรับกระแสโลกาภิวัตน์อย่างจริงจัง  พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก   อาร์เจนตินาก็เป็นอีกประเทศหนึ่งในแถบนี้ ที่เป็นตัวอย่างของความหายนะ  อันเกิดจากโลกาภิวัตน์

ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ  แสดงให้เห็นว่า การเปิดตลาดเสรีแม้จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศที่ยากจน  แต่กฏเกณฑ์กติกาที่ใช้อยู่ไม่เอื้ออำนาย  ทั้งๆที่ประเทศเหล่านั้นปฏิบัติตามกฎขององค์การค้าโลก แต่ได้รับการตำหนิอย่างรุนแรงจากธนาคารโลก  หรือทั้งที่ยอมรับเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ  ตามกฎเกณฑ์ที่ประเทศกำลังพัฒนากำหนดขึ้น  แต่ยังเกิดวิกฤติทางเศรษบกิจจนได้

นอกจากนั้น ประเทศกำลังพัฒนายังต้องเผชิญกับกับกำแพงภาษีศุลกากร  ที่่ประเทศพัฒนาตั้งไว้สูงสุด สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่ยากจน
 
ส่วนสิทธิบัตรต่างๆที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา  ทำให้ยารักษาโรคในประเทศกำลังพัฒนามีราคาแพงขึ้นอย่างมาก จนทำให้ประเทศที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นเหล่านั้นได้

วิกฤตการณ์ดังกล่าวเหล่านี้ ก่อให้เกิดคำถามว่า โลกาภิวัตน์เพื่อใคร เพื่อประเทศที่ยากจนหรือประเทศที่ร่ำรวย  เพื่อประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนา
                                             -----------------------------------------------

                                                                         สาระคิด 

                              หลักการหรืออุดมการณ์ดีๆ  ใช่ว่าจะดีสำหรับทุกสภาพการณ์
                              การจะนำไปใช้ต้องรู้จักประยุกต์  จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
                                                                 -------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น