เนื่องจากที่ผ่านมาระบอบเศษฐกิจแบบสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ไม่สามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจของประเทศได้ครบถ้วน มีผลทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมใหม่ขึ้นมา เป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม โดยดึงเอาเฉพาะส่วนที่ก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจโดยรวมมาปรับใช้ ตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ระบบเศรษฐกิจของชาติมากขึ้น
สำหรับลักษณะสำคัญของระบบเศรษบกิจแบบทุนนิยมใหม่ มีดังนี้
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมใหม่ ยังคงยึดถือกรรมสิทธิ์ของเอกชน
ถึงแม้ครัวเรือนและหน่วยธุรกิจยังคงมีบทบาท ในการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต แต่รัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมใหม่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการควบคุมดูแลให้เศรษฐกิจของชาติดำเนินไปได้ด้วยดี
รัฐบาลเข้ามาทำหน้าที่เป็นหน่วยผลิตในกิจการที่สำคัญๆ
ความเป็นเจ้าของกิจการและการบริหารกิจการจะแยกออกจากกัน คือเจ้าของกิจการไม่จำเป็นจะต้องบริหารกิจการด้วยตนเอง แต่จะจ้างมืออาชีพบริหารแทน
การแข่งขันมีแนวโน้มจะลดลง เพราะมีหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่เกิดขึ้น โดยเกิดจากการรวมกิจการเล็กๆเข้าด้วยกันด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้นว่า การซื้อกิจการของคู่แข่ง การตัดราคาจนคู่แข่งที่อ่อนแอกว่าต้องปิดกิจการไป ฯลฯ
รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้ามาดูแลมิให้มี การผูกขาดในกิจการอันอาจเป็นภัยต่อสังคม หรือการค้ากำไรเกินควร
การวางแผนได้เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร จนบางครั้ง สามารถแทนที่กลไกการตลาดได้มากขึ้น และเกิดการกระจายรายได้ที่เหมาะสม
อนึ่ง การจะมีระบบเศรษฐกิจแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจดั้งเดิม โครงสร้างของการเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
---------------------------------------------------------------
สาระคำ
ทฤษฎี สำหรับคนทั่วไป หมายถึง คำอธิบายสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใด ส่วน สำหรับนักวิทยาศาสตร์ หมายถึง คำอธิบายตามหลักเหตุผล แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นอย่างมีระบบ จนสามารถพยากรณ์สิ่งนั้นในอนาคตได้
----------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น