การทำรัฐประหารในประเทศไทย มีหลายฝ่ายเป็นห่วงว่าการลงทุนจาดต่างประเทศจะลดลง ทำให้เกิดปัญทางเศรษฐกิจตามมา
แต่จะลดหรือจะเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศจะต้องติดตามดูกันต่อไป ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไมจึงมีการลงทุนจากต่างประเทศนั้น สามารถสรุปคำตอบได้ดังนี้
มุ่งกำไร เป็นวัตุประสงค์เบื้องต้นในการลงทุนจากชาวต่างประเทศ เป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จาการลงทุนในประเทศของตน
การแสวงหาทรัพยากรและการขยายตลาด เป็นการลงทุนเพื่อหวังจะจำหน่ายสินค้าของตน ลดข้อเสียเปรียบ ในแง่ของการลดต้นทุนการผลิต จะทำให้สามารถแข่งขันสินค้าที่ผลิตในประเทศนั้นๆ หรือแข่งขันกับชาติอื่นที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันได้
แสวงหาวัตถุดิบ การที่ชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุนก็หวังจะแสวงหาวัตถุดิบ เช่นเหล็ก ทองแดง ไม้ น้ำมัน เพื่อในไปป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศของตน เพราะประเทศที่ไปลงทุนมักจะมีวัตถุดิบจำนวนมาก
ค่าแรงราคาถูก ทั้งนี้เพราะประเทศอุตสากรรมส่วนใหญ่ขาดแรงงาน หรือไม่ก็ค่าแรงงานสูงจนมีผลให้ราคาสินค้าและบริการสูงไปด้วย ส่วนประเทศที่ไปลงทุนจะมีแรงงานมาก มีการว่างงาน และค่าแรงงานต่ำ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำและสามารถแข่งขันกับสินค้าของประเทศอื่นได้
ผลประโยชน์ทางอ้อม การลงทุนจากต่างประเทศ บางครั้งไม่ได้หวังประโยชน์จากกำไร แต่มุ่งผลประโยชน์ทางอ้อม เช่น เพื่อรักษาแหล่งวัตถุดิบ เพื่อสร้างและรักษาตลาด เป็นต้น
หลีกเลี่ยงปัญหาความแออัดและปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรมทั่วๆไป การไปลงทุนต่างประเทศก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาเหล่านี้ในประเทศของตน
หลีกเลี่ยงการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ ซึ่งโดยมากเป็นผู้ประกอบการที่ผลิดสินค้าชนิดเดียวกัน
สนับสนุนให้มีการลงทุนในต่างประเทศ โดยเหตุผลที่ว่า การลงทุนเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งนำไปสู่การยกระดับรายได้ ทำให้มีการซื้อสินค้าประเภททุนจากประเทศที่ไปลงทุน
จากเหตุผลที่กล่าวมา จะเห็นว่าการทำรัฐประหารไม่น่าจะทำให้การลงทุนจากต่างชาติลดลง ตราบใดที่ไม่ไปกระทบกำไรหรือผลประโยชน์ของประเทศที่มาลงทุน
-----------------------------------------------------------------
สาระคำ
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง
--------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น